บริบทสถาบันศึกษาปอเนาะดารุลุมีนีน

1.1 ประวัติสถาบันศึกษาปอเนาะ

สถานบันปอเนาะเป็นสถาบันสอบศาสนาอิสลามมาตั้งแต่เดิม  “ปอเนาะ”  หมายถึง  สำนักสอนศาสนาอิสลามที่มีหอพักนักเรียนอยู่ในบริเวณสำนัก  ซึ่งโดยปกติจะเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ทุกๆ ตำบลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีปอเนาะมากกว่าหนึ่งปอเนาะสำนักสอนศาสนาอิสลามที่ให้บริการที่มีมาอยู่แรกของอิสลามเพราะนักศึกษาในอดีตจะเดินทางไกลและพักเป็นแรมปีเพื่อศึกษาเล่าเรียน  เมื่อวันที่ 28 เมษายน ๒๕๕๗ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบกระทรวงว่าด้วยสถาบันปอเนาะ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเปิดโอกาสให้ปอเนาะต่างๆจดทะเบียนขึ้นเป็นสถาบันปอเนาะที่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้การจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่หลายรูปแบบ

สถาบันปอเนาะดารุลมุมีนีนได้จดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันปอเนาะ พ.ศ. ๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕3 โดยมีโต๊ะครู/บาบอ  เป็นผู้สอนโดยมีผู้รับใบอนุญาต  ชื่อนายอาหามะ  อาแซ

 ๑.๒ ที่ตั้งสถาบันปอเนาะดารุลมุมีนีน

สถาบันปอเนาะดารุลมุมีนีนตั้งอยู่ 140/2  หมู่ 1  ตำบลละหาร  อำเภอยี่งอ  จังหวัดนราธิวาส  มีพื้นที่ประมาณ  4  ไร่  2  งานตั้งอยู่ห่างจากอำเภอยี่งอ  ๒ กิโลเมตร

พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณปอเนาะดารุลมุมีนีนเป็นเป็นพื้นที่ราบ  พื้นที่ใกล้เคียงปอเนาะส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่หมู่บ้านติดๆกัน

1.3  การจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนในสถาบันปอเนาะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้สามารถเป็นคนดี  มีคุณธรรมและเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

1.๔ การจัดการเรียนการสอนด้านศาสนา

การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ถูกต้องทั้งในด้านหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมสามารถเป็นผู้นำของสังคมในด้านต่างๆได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์  การจัดการเรียนกาสอนในสถาบันปอเนาะไม่มีการควบคุมเวลาเรียนและตายุของการเรียนเพราะถือว่าการเล่าเรียนคือการศึกษาตลอดชีวิตใครมีความพร้อมก็สามารถเรียนได้  การเรียนมีหลายวิชา  เช่น  อัลกุรอ่าน  อัลฮาดีษ  กีรอาตี  ภาษาอาหรับ  ประวัติศาสตร์  ศาสนาบัญญัติ  หลักศรัทธา  เป็นต้น

๑.๕ การจัดการเรียนการสอนด้านสามัญ

เป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยวิธีพบกลุ่มโดยใช้หลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช ๒๕๕๑ มี 3 ระดับระดับประถมศึกษา  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1.6 การจัดการเรียนการสอนอาชีพ

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ต้องเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพรู้จักประกอบอาชีพอิสระ  มีรายได้ระหว่างเรียนและเมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถเห็นช่องทางการประกอบอาชีพสามารถพึ่งตนเองได้

1.7 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะชีวิตที่ถูกต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและสังคมพร้อมทั้งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมดีขึ้น