สถาบันศึกษาปอเนาะเป็นสถานสอนศาสนาอิสลามมาตั้งแต่เดิม ปอเนาะ หมายถึง สำนักสอนศาสนาอิสลามที่มีหอพักนักเรียนอยู่ในบริเวณสำนัก ซึ่งโดยปกติจะเป็นกระท่อมเล็กๆ ทุก ๆ ตำบลในสามจังหวัดภาคใต้มีปอเนาะมากกว่าหนึ่งปอเนาะสำนักสอนศาสนาอิสลามที่ให้บริการที่พักนี้มีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามเพราะนักศึกษาในอดีตจะเดินทางไกลและพักเป็นแรมปีเพื่อศึกษาเล่าเรียน เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบกระทรวงว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยเปิดโอกาสให้ปอเนาะต่างๆ จดทะเบียนขึ้นเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้การจัดเรียนการสอนอิสลามศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่หลายรูปแบบ
สถาบันศึกษาปอเนาะมะฮัดอาซาดีได้จดทะเบียนเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ.2547เมื่อวันที่ 6พฤษภาคม 2547 โดยมีโต๊ะครู/บาบอ เป็นผู้สอน โดยมีผู้รับใบอนุญาต ชื่อ นายเจะเด็ง ดอเลาะ
1.2 ที่ตั้งสถาบันศึกษาปอเนาะ
สถาบันศึกษาปอเนาะมะฮัดอาซาดี 103/2 หมู่ที่ 4 ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส 96180 มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอยี่งอ ประมาณ 6 กิโลเมตร
พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณปอเนาะมะฮัดอาซาดีเป็นพื้นที่ราบ พื้นที่ใกล้เคียงปอเนาะส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่หมู่บ้านติดๆกัน สภาพแวดล้อมในปอเนาะมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้
1.3 การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ สามารถเป็นคนดี มีคุณธรรมและเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.4 การจัดการเรียนการสอนด้านศาสนา
การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ทั้งในด้านหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม สามารถเป็นผู้นำของสังคมในด้านต่างๆได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ การจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะ ไม่มีการควบคุมเวลาเรียน ไม่กำหนดระดับชั้นเรียน และอายุของผู้เรียน เพราะถือว่าการเล่าเรียน คือการศึกษาตลอดชีวิต ใครมีความพร้อมก็สามารถเรียนได้ การเรียนมีหลายวิชา เช่น อัลกรุอาน อัลฮาดิษ กีรออาตี ภาษาอาหรับ ประวัติศาสตร์ ศาสนาบัญญัติ หลักศรัทธา เป็นต้น
1.5 การจัดการเรียนการสอนด้านสามัญ
เป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยวิธีการพบกลุ่ม โดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551 มี 3 ระดับ ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1.6 การจัดการศึกษาสายอาชีพ
เป็นการจัดการศึกษาที่ต้องการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ รู้จักประกอบอาชีพอิสระ มีรายได้ระหว่างเรียน และเมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ สามารถพึ่งตนเองได้
1.7 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะชีวิตที่ถูกต้อง รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และสังคม พร้อมทั้งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมได้ดีขึ้น