ชื่อนางเจียม แดงโรจน์

สาขา/ด้านหัตกรรม (จัดขันหมากแต่งงาน)

๑.๑ ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางเจียม   นามสกุล แดงโรจน์

เชื้อชาติไทย  สัญชาติไทย  

วัน เดือน ปี ที่เกิด ๖  /กรกฎาคม /๒๔๙๓ อายุ ๖๖ ปี

ภูมิลำเนา (บ้านเกิด)บ้านใหญ่ หมู่ที่๑๒ ตำบลสุไหงปาดี

ที่อยู่ปัจจุบัน

บ้านเลขที่ ๕๑/๑ บ้าน ใหญ่ หมู่ที่๑๒ ตำบลสุไหงปาดี

อำเภอสุไหงปาดี จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ ๙๖๑๔๐

โทรศัพท์มือถือ๐๗๓-๖๕๓๒๑๔

สถานที่ทำงาน/แหล่งเรียนรู้ฯเลขที่ ๕๑/๑ บ้าน ใหญ่ หมู่ที่๑๒ ตำบลสุไหงปาดี

อำเภอสุไหงปาดี จังหวัด นราธิวาส

โทรศัพท์ ๐๗๓-๖๕๓๒๑๔

(จัดขันหมากแต่งงาน)

ด้านที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเฉพาะทาง

การจัดขบวนขันหมาก ารแต่งงานแบบไทย พิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย การแต่งงานเกิดขึ้น

หลังจากที่ฝ่ายชายและหญิงเกิดความรักใคร่ชอบพอกันในเวลาอันสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

ฝ่ายชายจะบอกกับพ่อแม่ ให้ทราบเพื่อให้จัดการผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิง

ให้ทราบเพื่อให้จัดการผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
ในสมัยนี้พิธีการแต่งงาน ได้ถูกตัดทอนย่นย่อลงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

สำหรับคู่บ่าวสาวที่กำลังจะมีพิธีแต่งงานแบบไทยคงไม่พูดถึง “พานขันหมาก” ไม่ได้ แต่บ่าวสาวสมัยใหม่หลาย ๆ คู่อาจจะไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการแห่ขันหมากสักเท่าไร 

แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเตรียมขบวนขันหมากตามประเพณีไทย ซึ่งจะนำไปจัดเป็น “ขันหมาก 9 คู่” หรือ “ขันหมาก 19 คู่” ก็ได้ มาดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

 

พานขันหมากเอก ประกอบด้วย

1. พานขันหมาก เป็นพานของฝ่ายชายเชิญมาที่บ้านฝ่ายหญิง

2. พานสินสอด พานทองหมั้น 

ใช้สำหรับใส่เงิน, ทอง, เพชร, นาค ไว้ในพานเดียวกัน หรือ 2 พานก็ได้ ซึ่งพานนี้จะมีผ้าคลุมไว้
ส่วนใหญ่ใช้ผ้าลูกไม้ ภายในพานนอกจากสินสอดเงินทองแล้ว 

ประกอบด้วย พลู 2 พาน ในพานจะมีหมาก 8 ผล, พลู 4 เรียง เรียงละ 8 ใบ, เงิน 2 ใบ, ถุงทอง 2 ใบ ข้างในบรรจุถั่วเขียว, งาดำ, ข้าวเปลือก, ข้าวตอก และซองเงิน 1 ซอง

จะต้องมีใบเงิน, ใบทอง, ใบนาค, กลีบกุหลาบ,
กลีบดาวเรือง, กลีบบานไม่รู้โรย, ดอกมะลิ, ดอกรัก, ถุงเงิน และถุงทอง

3. พานแหวนหมั้น 

ใช้พานขนาดเล็กซึ่งจะมีการออกแบบที่รองแหวนด้วยการจัดประดับพานด้วยดอกไม้ เพื่อความสวยงามด้วย

4. พานธูปเทียนแพ 

ไม่ต้องทำขนาดใหญ่มากจนเกินไป เพื่อจะใช้พานนี้ในการรับไหว้ ผู้ใหญ่ก็สามารถทำได้เช่นกัน

5. พานผ้าสำหรับไหว้ หรือพานธูปเทียนแพ 

จำนวนแล้วแต่จะกำหนด ซึ่งพานไหว้ผู้ใหญ่ในสมัยก่อนจะใช้พานธูปเทียนแพเท่านั้น
แต่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 

  • ส่วนแรกเป็นผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผืน และผ้าสำหรับห่ม 1 ผืน เทียน และธูปหอม ดอกไม้ 1 กระทง
    สำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ถ้ายังมีชีวิตอยู่ไม่ต้องจัดพานดังกล่าว แต่จะจัดในส่วนที่สอง
  • ส่วนที่สอง คือ สำรับที่จะใช้ไหว้ญาติผู้ใหญ่ พ่อและแม่ของทั้งสองฝ่าย โดยการใช้ผ้าขาวสำหรับนุ่งและผ้าห่ม อย่างละ 1 ผืน
  • หรือจะใช้เสื้อผ้า หรือของอื่น ๆ แทนก็ได้ แต่ไม่ต้องใช้ธูปเทียนและดอกไม้

6. ร่มสีขาว 2 คัน โดยจะให้เถ้าแก่ทั้งสองฝ่ายถือ

7. ช่อดอกไม้เล็ก ๆ สำหรับเจ้าบ่าวถือ

8. พานต้นกล้วย 1 คู่ ต้นอ้อย 1 คู่ เพื่อสื่อถึงให้คู่บ่าวสาวทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ ต้นกล้วยยังหมายถึงให้มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง

 ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นต้นเล็กนำมาให้เถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นคนถือขันหมาก