ประวัติวันดินโลก

ในปี พ.ศ. 2556 ระหว่างมีการประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและการเงินของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสมัชชาที่ 68 ณ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในที่ประชุมมีมติผลักดันการตั้ง วันดินโลก กำหนดให้ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุก ๆ ปี

ต่อมาวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ ซึ่งเป็นกรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ และคณะ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Humanitarian Soil Scientist หรือรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม

เนื่องจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีโครงการในพระราชดำริมากมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ทรงเป็นพระมหากษัตริน์องค์แรกและองค์เดียวที่ได้รับรางวัลดังกล่าว

ทั้งนี้ เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษณ์ถึงวิสัยทัศน์และพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน ผู้บริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติได้มีการประกาศให้ใช้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันดินโลกครั้งแรกใน พ.ศ. 2557 และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ 68 ได้มีมติรับรองทั้งสองวาระสำคัญที่ประเทศไทยได้เป็นผู้เสนอ ได้แก่

  1. วันที่ 5 ธันวาคม ทุกปีเป็นวันดินโลก (World Soil Day)
  2. ปี 2558 เป็นปีดินสากล (International Year of Soils 2015)

ซึ่งมีผลให้วันเกิดโลกได้รับการบรรจุในปฏิทินปฏิบัติงานขององค์การสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติต่างพร้อมจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดินในวันดินโลก

นับตั้งแต่มีการประกาศรับรองวันดินโลกเป็นต้นมา เอฟ เอ โอ โดยกลุ่มสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก หรือ Global Soil Partnership : GSP ได้จัดกิจกรรมวันดินโลกประจำทุกปี เพื่อให้เป็นวาระในการสื่อความสำคัญของทรัพยากรดินให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างไม่จำกัดอยู่เพียงแต่กลุ่มนักวิชาการหรือเกษตรกรเท่านั้น

ในหลวงรัชกาลที่ 9 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม