บริบทตำบล

ข้อมูลพื้นฐาน

1.ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลลาโละ

ที่ตั้ง

ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลลาโละ หรือ กศน.ตำบลลาโละ ตั้งอยู่ที่อาคารเอนกประสงค์ บ้านบริจ๊ะ หมู่ที่ ๗ ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส  เขตชุมชนบ้านบริจ๊ะ ห่างจากสำนักงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรือเสาะ ประมาณ  ๑๔  กิโลเมตร

ประวัติความเป็นมา

ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลลาโละ เป็นสถานที่ของอาคารเอนกประสงค์บ้านบริจ๊ะ หมู่ที่ ๗ ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส  เขตชุมชนบ้านบริจ๊ะ จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขอใช้อาคารดังกล่าว เพื่อใช้เป็นสถานที่พบกลุ่มการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประถม มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมเป็นศูนย์การเรียนตามอัธยาศัย และการบริการประชาชน  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลลาโละ ปัจจุบันเปิดทำการให้บริการกับนักศึกษาการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาตามอัธยาศัย และประชาชนในพื้นที่ มีบุคลากรที่รับผิดชอบงาน กศน.ตำบลลาโละ คือ นายคูไซมะ มะแซ  ครูผู้ช่วย นายสะมะแอ ซาเม๊าะนอรี ครูอาสาสมัคร กศน.ประจำตำบล นายมะอาบีดี สามะอากา ครู กศน.ตำบล และนางสาวสากีนะห์  ลาเตะ ครูอาสาสมัคร กศน.ประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ เปิดบริการให้คำแนะนำ ปรึกษา และการศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาตามอัธยาศัย ด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวิธีเรียนการพบกลุ่ม ตั้งแต่เวลา 0๙.๐0 น.–16.๐0 น. ระดับประถมศึกษาในวันพุธและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 0๙.๐0 น.–16.๐0 น. และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 0๙.๐0น.–16.๐0 น. โดยมีนายคูไซมะ มะแซ  ครูผู้ช่วย นายสะมะแอ ซาเม๊าะนอรี ครูอาสาสมัคร กศน.ประจำตำบล นายมะอาบีดี สามะอากา ครู กศน.ตำบล และนางสาวสากีนะห์  ลาเตะ  ครูอาสาสมัคร กศน.ประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นผู้ให้บริการ

2. สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง)

        ขนาดพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมติดต่อสื่อสาร

 

ประวัติความเป็นมาของตำบลลาโละ

เหตุที่ได้ชื่อ“ลาโละ”  เพราะได้ชื่อมาจากต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งชื่อว่า   ต้นลาโละ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕  เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งราษฎรเคารพนับถือในอภินิหาร กล่าวคือ เมื่อราษฎรมีปัญหาทุกข์ร้อนเรื่องต่าง ๆ เมื่อบนบานกับต้นไม้ดังกล่าวแล้วความทุกข์ร้อนจะหายไป ความมีชื่อของต้นลาโละ ทำให้ราษฎรเรียกชื่อต่อกันมาแต่โบราณ เป็นชื่อของหมู่บ้านที่ต้นไม้นั้นขึ้นอยู่ คือหมู่ที่ ๕ บ้านลาโละในปัจจุบันและเป็นชื่อเรียกของตำบลลาโละด้วย

ตำบลลาโละเป็นตำบลหนึ่งใน ๙ ตำบลของอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอรือเสาะ บนถนนทางหลวงหมายเลข ๔๑ (สายรือเสาะ – ยี่งอ) อยู่ห่างจากตัวอำเภอรือเสาะ ๑๒ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัด ๓๖ กิโลเมตร ได้รับยกฐานะจากสภาตำบลลาโละเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ ๑ บ้านบือแรง

หมู่ที่ ๒ บ้านบูเก๊ะนากอ

หมู่ที่ ๓ บ้านอีนอ

หมู่ที่ ๔ บ้านกูยิ

หมู่ที่ ๕ บ้านลาโละ

หมู่ที่ ๖ บ้านไอร์บูโละ

หมู่ที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ

หมู่ที่ ๘ บ้านไทยสุข

หมู่ที่ ๙ บ้านพงยือติ

ลักษณะภูมิประเทศ  

          ลักษณะทั่วไป เป็นที่ราบเนินเชิงภูเขาเหมาะแก่การทำการเกษตรประเภทสวนยางพาราและสวนผลไม้ บางส่วนพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนาข้าว มีแหล่งน้ำธรรมชาติประเภทลำห้วย บึง และสายธารเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตำบล มีฝายพระราชดำริ บ้านกูยิ และบ้านทุ่งบาโงของกรม ชลประทาน ทำประปาภูเขาส่งน้ำให้ราษฎรใช้เป็นน้ำอุปโภคและทางการเกษตรบางส่วน ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตำบล   มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ   ป่าอุทยานแห่งชาติน้ำตกซิโป และที่สาธารณประโยชน์บางพื้นที่เป็นต้นกำเนิดของสายธารเล็ก ๆ

 สภาพภูมิอากาศ

                     ลักษณะสภาพอากาศมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่าง เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธุ์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีความแปรปรวน บางปีอาจจะมีภาวะฝนทิ้งช่วงและอาจเกิดอุทกภัยในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ในบางปีมีลมมรสุมตะวันออกเฉียง เหนือและตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ทำให้มีลักษณะอากาศร้อนชื้น และในเวลากลางคืนอากาศค่อนข้างเย็นฝนจะตกชุกมากในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม

                     1.ฤดูฝน  ฝนตกชุกในเดือน  กรกฎาคม – กุมภาพันธ์

                     2.ฤดูร้อน  ในช่วงเดือน  มีนาคม- มิถุนายน

                               อุณหภูมิสูงสุด              ประมาณ  32  องศาเซลเซียส

                               อุณหภูมิต่ำสด              ประมาณ  18  องศาเซลเซียส

                               อุณหภูมิเฉลี่ย               ประมาณ  25  องศาเซลเซียส

                               ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย         ประมาณ  2,518.5  มิลลิเมตร

          อาณาเขตติดต่อ

๑. ทิศเหนือ            ติดต่อกับตำบลสามัคคี                 

๒. ทิศใต้                ติดต่อกับตำบลเชิงคีรี    อำเภอศรีสาคร               

๓. ทิศตะวันออก       ติดต่อกับอำเภอศรีสาคร และ อำเภอระแงะ                            

๔. ทิศตะวันตก        ติดต่อกับตำบลรือเสาะออก และ ตำบลรือเสาะ

          การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมระหว่างตำบลและอำเภอ รวม ๖ สาย คื

๑. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4060 ระหว่าง อำเภอยี่งอ ถึง อำเภอรือเสาะ               

๒. ทางหลวงชนบทหมายเลข นธ 4006 ระหว่าง ตำบลลาโละ ถึง อำเภอศรีสาคร               

๓. ถนนลาดยาง     5     สาย               

๔. ถนนคอนกรีต    8     สาย               

๕. หินคลุก/ลูกรัง    6     สาย               

๖. ทางรถไฟ          1     สาย คือ สถานีลาโละ

ตำบลลาโละ แบ่งการปกครองออกเป็น  หมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่ชื่อหมู่บ้านชื่อผู้ใหญ่บ้าน/กำนันชื่อสมาชิก อบต.หมายเหตุ
1บือแรงนายมูหัมมะสุกรี  สาแมมะซา/ผู้ใหญ่บ้านนางสาวรอปีอะห์ ตอพา 
2บูเกะนากอนายมูฮัมหมัดซาวาวี สะและ/ผู้ใหญ่บ้านนายมูฮำหมัดซูเฟียน เจ๊ะแน 
3อีนอนายมะลูกิ  กาลี/ผู้ใหญ่บ้านนายอับดุลรอนิง  หะมะ 
4กูยินายรอซาลี หะยียีเต๊ะ/ผู้ใหญ่บ้านนายมะรีเป็ง หลงปลา 
5ลาโละนายลายิ  มะมิง/กำนันนายมูฮำหมัดอัซฮารี มะมิง 
6ไอร์บูโละนายมะนาเซ ดาบู/ผู้ใหญ่บ้านนายอับดุลรอซะ ดือราฮิง 
7บริจ๊ะนายอัสมิง  กอเดร์/ผู้ใหญ่บ้านนายไซนูดิง บือราเฮง 
8ไทยสุขนายมะรอพี  มะแซ/ผู้ใหญ่บ้านนายสะรีย์ ยูโซ๊ะ 
9พงยือตินายมะนาวี  ยีมะยี/ผู้ใหญ่บ้านนายอีดือเร๊ะ เจ๊ะแว 

จำนวนประชากร

พื้นที่จำนวนครัวเรือนรวม(คน)รายได้เฉลี่ย(บาท/คน)
หมู่ที่ 1 บ้านบือแรง19184170,902
หมู่ที่ 2 บ้านบูเกะนากอ25489149,990
หมู่ที่ 3 บ้านอีนอ18594249,490
หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ3852,02444,900
หมู่ที่ 5 บ้านลาโละ2401,43443,456
หมู่ที่ 6 บ้านไอร์บูโล๊ะ16989840,243
หมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ4011,48439,507
หมู่ที่ 8 บ้านไทยสุข21892338,693
หมู่ที่ 9 บ้านพงยือติ13065537,898
รวม2,17310,092415,079

          จำนวนครัวเรือน  2,17๓ ครัวเรือน ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมเป็นผลผลิตทางการเกษตร เช่น ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจประจำอำเภอทำรายได้ให้กับประชาชน และมีผลไม้ เช่น ลองกอง เงาะ มังคุด ทุกเรียนและผลไม้ อื่น ๆ มากมาย  

สภาพทางสังคม  

ประชากรในตำบลลาโละนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 95 % นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ5 % ส่วนใหญ่อยู่ในพื้น หมู่ที่ ๘ บ้านไทยสุข  ตำบลลาโละ โดยมีมัสยิด และสุเหร่าเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบงานบุญและพิธีกรรมทางศาสนาภายในตำบลดังนี้               

วัด/สำนักสงฆ์   1  แห่ง ได้แก่ วัดชนาราม หมู่ที่ 8 บ้านไทยสุข               

มัสยิด 11 แห่ง ได้แก่ มัสยิดบือแรง,  มัสยิดหมู่ที่ 2,  มัสยิดหมู่ที่ 3,  มัสยิดรีเย็ง, มัสยิดอูยิ, มัสยิดหมู่ที่ 5, มัสยิดดารุลมุนตาฮา,  มัสยิดไอร์บูโละ,  มัสยิดหมู่ที่ 7,  มัสยิดนัสรียะห์,  มัสยิดหมู่ที่ 9               

บาลาเซาะ 10 แห่ง ได้แก่ บาลาเซาะมาดีเนาะ, บาลาเซาะบาบอ, บาลาเซาะรีเย็ง, บาลาเซาะจาเราะอูยิ, บาลาเซาะหมู่ที่ 5, บาลาเซาะหมู่ที่ 6, บาลาเซาะกาจอปอรี, บาลาเซาะกำปงบารู, บาลาเซาะปะจู, บาลาเซาะกีเยาะ

สถานศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้

                     -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก          จำนวน      1      แห่ง       

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบริจ๊ะ  ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ  

                     -ระดับประถมศึกษา          จำนวน              5      แห่ง       

                     -โรงเรียนบ้านบือแรง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านบือแรง       

-โรงเรียนบ้านอีนอ    ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านอีนอ       

-โรงเรียนบ้านกูยิ      ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ       

-โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ   ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ       

-โรงเรียนชุมชนสัมพันธ์ลาโละ

          ศูนย์อบรมจริยธรรม/โรงเรียนตาดีกา จำนวน 10 แห่ง       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านบือแรง       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านบูเกะนากอ       

-โรงเรียนบ้านอีนอ       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านอูยิ       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านรีเย็ง       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านลาโละ       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านไอร์บูโละ       

-โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านบาโง       

-โรงเรียนตาดีกาบ้านพงยือติ

                     โรงเรียนเอกชน (สช.)        จำนวน 1 แห่ง

                               -โรงเรียนอิบตีดาวิยา(มูลนิธฺ)

การสาธารณสุข               

ตำบลลาโละมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 2 แห่ง คือ

๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บริจ๊ะ

๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูยิ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ

โดยรับผิดชอบทั้งหมด 1- 9 หมู่บ้าน

มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน 9 แห่ง โดยมี อสม.ประจำหมู่บ้าน

          ระบบบริการพื้นฐาน

การไฟฟ้า               

-มีไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 9 หมู่บ้าน               

-มีไฟฟ้าสาธารณะ       

การประปา              

-มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  8   แห่ง       

โทรศัพท์               

ประชาชนในเขตตำบลลาโละ โดยส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์ระบบเคลื่อนที่               

-สถานีโทรคมนาคม AIS      จำนวน   1  แห่ง               

-สถานีโทรคมนาคม DTAC   จำนวน   1  แห่ง       

3. สภาพทางเศรษฐกิจ

        โครงสร้างฐานอาชีพของชุมชน รายได้เฉลี่ยของประชากร อาชีพส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา  สภาพทางเศรษฐกิจจึงขึ้นกับผลผลิตการทำสวนยางพารา มีฝนตกชุกและรากอยู่ในเกณฑ์สูง  ชาวสวนยางจะมีรายได้  นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพอื่นๆ  เช่น  สวนลองกอง  สวนทุเรียน  เงาะ   มะพร้าวและทำนาในบางพื้นที่ที่เป็นที่ราบ  มีรายได้เฉลี่ยของประชากร ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท/เดือน

การเกษตร               

-ประชากรตำบลลาโละ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ปลูกพืชไร่ ทำสวน ทำนา ฯลฯ 

การประมง               

-ในตำบลลาโละไม่มีการทำประมง       

การปศุสัตว์               

-เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค กระบือ สุกร ฯลฯ 

การบริการ                

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ                       

-มีร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดทุกหมู่บ้าน                       

-มีตลาดนัด  จำนวน  3  แห่ง   

การท่องเที่ยว               

-จากการสำรวจภายในตำบลลาโละมีสถานที่พักพอที่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต คือ น้ำตกไอร์ดือลง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ               

-ร้านค้า      102  แห่ง               

-ปั้มน้ำมัน   17    แห่ง               

-ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ 5 แห่ง     

กลุ่มอาชีพ  จำนวน   2  กลุ่ม              

-กลุ่มปักจักร               

-กลุ่มทำขนม       

แรงงาน 

ประชากรตำบลลาโละ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่ การทำสวน ทำนา ปลูกพืชไร่ พืชผัก  เลี้ยงสัตว์ สำหรับที่เหลือจะประกอบอาชีพรับจ้าง บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่  รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย  ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

ปัญหาที่พบคือ   ยาเสพติด                     

ปัญหายาเสพติดมีพื้นที่การเฝ้าระวัง ตั้งแต่หมู่ที่ 1 บ้านบือแรง – หมู่ที่ 9 บ้านพงยือติ 

4. แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา

         ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่และองค์กร ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทกิจกรรมทางสังคม – วัฒนธรรม และต้นทุนงบประมาณ (ระบุแหล่งทุนด้านงบประมาณของชุมชน)

ลำดับที่ชื่อ กศน.ตำบลที่ตั้งผู้รับผิดชอบ
กศน.ตำบลลาโละหมู่ที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ ตำบลลาโละ 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลลาโละหมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ  ตำบลลาโละ 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูยิหมู่ที่ 4 บ้านกูยิ ตำบลลาโละ 
มัสยิดบือแรงหมู่ที่ ๑ บ้านบือแรง ตำบลลาโละ 
มัสยิดหมู่ที่ 5หมู่ที่ ๕ บ้านลาโละ ตำบลลาโละ 
มัสยิดดารุลมุนตาฮาไอร์บูโล๊หมู่ที่ ๖ บ้านไอร์บูโล๊ะ ตำบลลาโละ 
มัสยิดหมู่ที่ 7หมู่ที่ ๗ บ้านบริจะ ตำบลลาโละ 
มัสยิดหมู่ที่ 9หมู่ที่ ๙ บ้านกูยิ ตำบลลาโละ 
โรงเรียนบ้านอิบตีดาวิทยา(มูลนิธิ)หมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ  ตำบลลาโละ 
๑๐สถาบันศึกษาปอเนาะฏอรีกิลอีบาดะห์หมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ ตำบลลาโละ  
๑๑องค์การบริหารส่วนตำบลลาโละหมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ ตำบลลาโละ 

5. ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

        ด้านการรู้หนังสือ ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ และ ปวช.) ด้านอาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อมูลบุคลากร กศน.ตำบลลาโละ

ที่ชื่อ-สกุลตำแหน่งวุฒการศึกษา
๑.นายคูไซมะ  มะแซครูผู้ช่วยปริญญาตรี สังคมศึกษา ปริญญาตรี เทคนิคและทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ ปริญญาตรี การแนะแนว ป.บัณฑิต การจัดการและการประเมินโครงการ
๒.นางสาวฟาดีเราะห์ ดาโต๊ะครูอาสาสมัคร กศน.ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) 
๓.นายมะอาบีดี  สามะอากาครู กศน.ตำบลปริญญาตรี บริหารธุรกิจ ป.บัณฑิต วิชาชีพครู  
๔.นางสาวสากีนะห์  ลาเต๊ะ ครูอาสาสมัคร กศน.ประจำ สถาบันศึกษาปอเนาะปริญญาตรี สารสนเทศคอมพิวเตอร์ ป.บัณฑิต วิชาชีพครู ปริญญาโท เทคโนโลยีการศึกษา   

ชื่อภาคีเครือข่าย

ที่ชื่อภาคีเครือข่ายที่ตั้ง/ที่อยู่
องค์การบริหารส่วนตำบลลาโละหมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ  ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ
๒.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละหมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ  ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ
๓.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูยิหมูที่ ๔ บ้านกูยิ     ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ
๔.โรงเรียนบ้านบริจ๊ะหมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ  ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ
๕.โรงเรียนบ้านอิบตีดาวิทยา(มูลนิธิ)หมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ  ตำบลลาโละ   อำเภอรือเสาะ
๖.โรงเรียนชุมชนสัมพันธ์บ้านลาโละหมูที่ ๕ บ้านลาโละ  ตำบลลาโละ   อำเภอรือเสาะ
๗.โรงเรียนบ้านกูยิหมูที่ ๔ บ้านกูยิ      ตำบลลาโละ   อำเภอรือเสาะ
๘.โรงเรียนบ้านบือแรงหมูที่ ๑ บ้านบือแรง ตำบลลาโละ   อำเภอรือเสาะ
๙.โรงเรียนบ้านอีนอหมูที่ ๓ บ้านอีนอ    ตำบลลาโละ   อำเภอรือเสาะ
๑๐.ฉก ทหารพรานบ้านไทยสุขหมูที่ ๘ บ้านไทยสุข  ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ
๑๑.ฉก ทหารพรานลาโละหมูที่ ๗ บ้านบริจ๊ะ   ตำบลลาโละ  อำเภอรือเสาะ