บริบทตำบล

                                                                              ข้อมูลทั่วไปตำบลบาเจาะ

ประวัติความเป็นมา

ตำบลบาเจาะเป็นหนึ่งในหกตำบลของอำเภอบาเจาะ ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสายบุรี มณฑลปัตตานี ในปี ร.ศ. 127 ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า “กิ่งอำเภอจำปากอ” (ณ ตำบลบาเระเหนือในปัจจุบัน) ต่อมา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2453) ได้ยกฐานะเป็นอำเภอจำปากอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2461 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบาเระเหนือ และย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ และเรียกชื่อว่า”อำเภอบาเจาะ” ต่อมา พ.ศ. 2472 ได้โอนท้องที่อำเภอบาเจาะมาขึ้นกับจังหวัดนราธิวาสจนถึงปัจจุบัน

ขนาดพื้นที่

ตำบลบาเจาะ เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอบาเจาะ ห่างจากศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ประมาณ 28 กม. เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบาเจาะ สภาพพื้นที่โดยทั่วไป ด้านทิศตะวันออก เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนา ส่วนทิศตะวันตก เป็นที่ราบและภูเขา เหมาะแก่การปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ประมาณ 21.69 ตร.กม

ลักษณะที่ตั้งอาณาเขตติดต่อ

 ลักษณะที่ตั้งอาณาเขตและเขตปกครอง  ตำบลบาเจาะ ตั้งอยู่ในตอนกลางของอำเภอบาเจาะ  ห่างจากศาลากลางจังหวัดนราธิวาส  28  กิโลเมตร  ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน  มีพื้นที่บางส่วนของตำบลอยู่ทั้งในเขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ

มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

  • ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ : ป่าไม้ มีพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติประมาณ ๓๗,๔๔๓ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๓๕ ของพื้นที่อำเภอ ไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ตะเคียน ไม้หลุมพอ แหล่ง
  • พืชพันธุ์ธรรมชาติที่สำคัญ : ใบไม้สีทอง

ใบไม้สีทองพันธ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกเป็นพันธ์ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่  เส้นรอบวงของเถาวัดสูงเพียงอกประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร เลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ขึ้นไปสูงถึง ๓๐ เมตร ใบคล้ายใบกาหลงหรือใบชงโค แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ใบที่สมบูรณ์เต็มขนาด ๑๙ × ๑๘ เซนติเมตร มีขนสีทองหรือสีเหลืองเหลือบสีเงินปกคลุมทั้งใบ ดอกลักษณะคล้ายดอกเลี้ยง แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวล ในเวลาต่อมาเป็นสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ  คล้ายกลิ่นหอมของดอกพิกุล ออกดอกเป็นช่อบานกระจายตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีตั้งแต่ ๑๐ ดอกขึ้นไป ผลเป็นฝักแบนคล้ายฝักดาบ ขนาด ๒๐ – ๒๓ × ๕.๕ – ๖ เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลแดงคล้ายกำมะหนีปกคลุม เมล็ดแบน  รูปโล่ห์  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๒.๕ – ๒.๘ มิลลิเมตร ฝักหนึ่ง มี ๔.๖ เมล็ด

ใบสีทองมีชื่อท้องถิ่นอีกชื่อหนึ่งว่า  ย่านดาโอ๊ะ  เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก  มีชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Bauhinia aureifalia ตั้งชื่อโดย ศาสตราจารย์ ไค ลาร์เสน ( Pr. Of Kai Lasern) นักพฤกษาศาสตร์ชาติเดนมาร์ค เมื่อ ค.ศ. ๑๙๘๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงพิมพ์ในหนังสือ MardicJorernal of Bata my vola๓sohk๒๕๓-๒๕๖ โดยตั้งชื่อตามสีของใบ (Chryso = สีทอง , Phyllum = ใบ ) พันธุ์ไม้ชนิดนี้ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี  แต่จะออกชุกระหว่างเดือนตุลาคม – กุมภาพันธุ์ มีขอบเขตการกระจายพันธุ์เท่าที่ทราบในปัจจุบันเพียงแห่งเดียวในโลก คือ บริเวณน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งเดียวในโลก คือ บริเวณน้ำตกปาโจอุทยานแห่งชา บูโด – สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

  • สัตว์ป่าสงวน : สัตว์ป่าหายากที่เคยพบในบริเวณนี้คือแรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ และเลียงผา และที่สำคัญ คือ ค่างแว่นถิ่นใต้มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของพม่า ภาคใต้ของประเทศไทยไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง มักอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงชันและป่าดงดิบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ ๓๐-๔๐ ตัว มีตัวผู้ที่แข็งแรงที่สุดเป็นจ่าฝูงปกตินิสัยขี้อาย กลัวคน ไม่ก้าวร้าวดังเช่นลิง (นอกจากค่างแว่นถิ่นใต้แล้วในประเทศไทยยังพบค่างอีกสามชนิด ได้แก่ ค่างดำ ค่างหงอก และค่างแว่นถิ่นเหนือในปัจจุบันค่างทั้ง   สี่ชนิดถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสถานภาพถูกคุกคาม)
  • การท่องเที่ยว : ตำบลมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่อุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด–สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จ.นราธิวาส อดีตเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดีเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงในปี  พ.ศ. ๒๕๑๗ กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจและกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๒๙๔ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนราธิวาส ยะลาและปัตตานี เทือกเขาบูโดนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของป่าดิบร้อนแบบอินโด-มาลายัน ป่าดิบชื้นเขตร้อน ซึ่งมีความชื้นสูงเพราะมีน้ำฝนตกตลอดปีและเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเมื่อเทียบกับป่าประเภทอื่นในพื้นที่เท่าๆ กัน ป่าเขตร้อนนี้จะพบเฉพาะแนวเส้นศูนย์สูตร คือพื้นที่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ที่ ๒๓ [๑/๒] องศาเหนือและใต้ ในประเทศไทยจะอยู่ในช่วงคอคอดกระจังหวัดระนองลงไปนักพฤกษศาสตร์แบ่งป่าเขตร้อนทั่วโลกออกเป็นสามเขตใหญ่ คือป่าฝนเขตร้อนทวีปอเมริกาป่าฝนเขตร้อน แถบอินโด-มาลายัน และป่าเขตร้อนแถบทวีปแอฟริกา 
  • น้ำตกปาโจ : ในอุทยานฯมีน้ำตกอยู่หลายแห่ง เช่น น้ำตกภูแว น้ำตกปาโจ และน้ำตกปากอแต่ที่รู้จักกันทั่วไป นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้สะดวก คือ “น้ำตกปาโจ” เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงกว้าง คำว่า “ปาโจ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่นมีความหมายว่า “น้ำตก” ที่น้ำตกปาโจนี้มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม ๙ ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้แต่เนื่องจากสภาพป่าโดยรอบไม่สมบูรณ์นัก ในหน้าแล้งน้ำจึงค่อนข้างน้อยนอกจากน้ำตกยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ ศาลาธารทัศน์ซึ่งเคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาสและ  ยังมีก้อนหินสลักพระปรมาภิไธยตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกปาโจด้วย ฤดูท่องเที่ยวการเดินทาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาส ๒๖ กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๒ ไปยังอำเภอบาเจาะถึงบริเวณสี่แยกเข้าตัวอำเภอ ให้เลี้ยวเข้าไปตามถนนอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯมีความสูงประมาณ ๖๐ เมตร มีน้ำไหลตลอดปี เคยได้รับรางวัลที่ ๕ ในการประกวดแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดชายแดนภาคใต้