น้ำตกปาโจ – อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี

ชื่อแหล่งเรียนรู้ น้ำตกปาโจ – อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี

ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี 67 ถ.พิพิธปาโจ  อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส 96170 พิกัด 6.50063 , 101.63606

ประวัติความเป็นมา

น้ำตกปาโจ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ของผืนป่าบูโด มีน้ำไหลตลอดปี มีน้ำตก ๔ ชั้น ชั้นแรกมีขนาดใหญ่และสวยที่สุด สายน้ำไหลตกจากลานผาหินกว้าง สูง ๖๐ เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ ในช่วงฤดูฝนน้ำตกปาโจจะยิ่งสวยงามมาก สภาพป่า เป็นป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น กะลอ หลุมพอ ฯลฯ ตามพื้นป่ามีหวาย ปาล์ม หลากหลายชนิด สัตว์ที่พบเห็นง่ายได้แก่ ค่างแว่นถิ่นใต้ นกกาฝากท้องสีส้ม เป็นต้นมีศาลาธารทัศน์ ซึ่งเคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาส และก้อนหินสลักพระปรมาภิไธยตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกปาโจ  และก้อนหินขนาดใหญ่ที่จารึกลายพระหัตถ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และพระนามาภิไธยสิริกิติ์ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เก็บไว้เป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งเคยเสด็จมาเที่ยวน้ำตกปาโจ

จุดเด่น

น้ำตกปาโจ เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง  ตั้งอยู่ที่บ้านปาโจ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ  สถานที่ท่องเที่ยวอันลือชื่อแห่งหนึ่งของ จังหวัดนราธิวาส เป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน แห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี น้ำตกปาโจ  เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ของผืนป่าบูโดที่มีน้ำตลอดปี แต่ในหน้าแล้งน้ำค่อนข้างน้อย  ตัวน้ำตกมี 4  ชั้น ชั้นแรกมีขนาดใหญ่และสวยที่สุด สายน้ำไหลตกจากลานผาหินกว้าง สูง 60 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ ในช่วงฤดูฝนน้ำตกปาโจจะยิ่งสวยงามมาก สภาพป่า เป็นป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น กะลอ หลุมพอ ฯลฯ ตามพื้นป่ามีหวาย ปาล์ม หลากหลายชนิด สัตว์ที่พบเห็นง่ายได้แก่ ค่างแว่นถิ่นใต้ นกกาฝากท้องสีส้ม เป็นต้น

มีศาลาธารทัศน์ ซึ่งเคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาส และที่ตัวน้ำตกมีก้อนหินขนาดใหญ่สลักพระปรมาภิไธยตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกปาโจด้วย  และลายพระหัตถ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และพระนามาภิไธยสิริกิติ์ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เก็บไว้เป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งเคยเสด็จมาเที่ยวน้ำตกปาโจ

จุดที่น่าสนและเป็นเอกลักษณ์เด่นบริเวณน้ำตกปาโจ หรือบาโจ คือ มีใบไม้สีทองหรือ ย่านดาโอ๊ะ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกที่น้ำตกปาโจเมื่อปี พ.ศ. 2531 ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย   มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือ มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล  พบเห็นได้บริเวณด้านหน้าของน้ำตก

อุทยานแห่งชาติน้ำตกปาโจ เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. -16.30 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี
โทรศัพท์ : 0 7353 0406 
อีเมล : budo.sungaipadi@gmail.com