ประวัติความเป็นมาของตำบลสากอ
ประวัติความเป็นมา
ตำบลสากอ เดิมพื้นที่ตำบลสากอเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยหลากหลายพืชพรรณ แต่มีพืชพรรณชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในแถวป่าบริเวณนี้ คือ หวาย ซึ่งมีหวายชนิดนี้มีเป็นจำนวนมาก มีลักษณะเหนียว ทนทาน เป็นหวายที่มีคุณสมบัติในการจัดสาน มีชื่อว่า “ หวายซือกอ ”จากคำบอกเล่าว่าได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ถางป่าที่นี้เพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยและทำการเพาะปลูก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านซือกอ ” ต่อมาได้แผลงเป็น “ บ้านสากอ ” และได้ตั้งชื่อเป็นตำบลจนถึงปัจจุบัน บ้านสากอได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญอีกหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอสุไหงปาดี โดยมีหลักฐานจากการสร้างบ้านเรือนเป็นห้องแถวยาวคล้ายกับอาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน ซึ่งอาคารบ้านเรือนดังกล่าวยังมีร่องรอยที่แสดงให้เห็นจนถึงปัจจุบัน มีสภาพเป็นบ้านเรือนที่ติดยาวเป็นแถวสร้างด้วยไม้ที่มีรูปทรงแบบโบราณแสดงถึงความเจริญของหมู่บ้านในเรื่องเศรษฐกิจ จากคำบอกเล่าของคนในหมู่บ้านว่า บริเวณนี้จะเป็นศูนย์ติดต่อค้าขายของคนจำนวนมาก ทั้งมาจากอำเภอแว้ง และอำเภอสุไหงปาดีในปัจจุบัน สินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนค้าขาย ได้แก่ ยางพารา ข้าวสาร ผลไม้ และของใช้ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตของคนในตำบลสากอ และบริเวณใกล้เคียงโบราณแสดงถึงความเจริญของหมู่บ้านในเรื่องเศรษฐกิจ จากคำบอกเล่าของคนในหมู่บ้านว่า บริเวณนี้จะเป็นศูนย์ติดต่อค้าขายของคนจำนวนมาก ทั้งมาจากอำเภอแว้ง และอำเภอสุไหงปาดีในปัจจุบัน สินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนค้าขาย ได้แก่ ยางพารา ข้าวสาร ผลไม้ และของใช้ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตของคนในตำบลสากอ และบริเวณใกล้เคียง ประชากรในอดีตของตำบลสากอมีหลากหลายเชื้อชาติ เช่น เชื้อชาติไทยเชื้อชาติจีน หรือแม้กระทั้งมาเลย์ ส่วนใหญ่คนจีนจะมีอาชีพค้าขายรับซื้อยางส่วนคนไทยมีอาชีพทำสวนยาง ทำสวนผลไม้ความสัมพันธ์ของคนเชื้อชาติทั้งหมดขึ้นอยู่กับการค้าขาย ถึงแม้ว่าบ้านสากอมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจแต่การคมนาคมยังไม่สะดวกเหมือนกับปัจจุบัน ในอดีตการเดินทางของคนในตำบลสากอยังต้องเดินเท้าเพื่อเพื่อไปยังตัวอำเภอในปัจจุบัน ใช้เวลาเป็นวันๆและยังคงต้องพกพาอาหารในระหว่างการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนการเดินทางยังคงลำบากหนักขึ้นกว่าเดิม มีการพักแรมระหว่างทาง เนื่องถนนหนทางยังไม่มี ต้องมีการเดินลัดเลาะป่า สวนยางสวนผลไม้ ถนนหนทางเริ่มเข้าประมาณปี พ.ศ. 2534 นอกจากนี้บางในอดีตพื้นที่ของตำบลสากอ ยังมีการเคลื่อนไหวของโจรจีนคอมมิวนิสต์ (จคม.)ที่สร้างความลำบากและความยุ่งยากในการใช้ชีวิตของชาวบ้าน เนื่องจากพื้นที่ตำบลสากอบางหมู่บ้านเป็นพื้นที่ป่าติดับอำเภอสุคิริน ซึ่งมีพรหมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซีย ทำให้ทางการยากแก่การปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ได้ ดังนั้นบางพื้นที่ของตำบลสากอในอดีต จึงมีค่ายทหารมาตั้งประจำการเพื่อทำการปราบผู้ก่อการร้าย และมีการปะทะกันเสมอมา ทำให้ชาวบ้านจะเป็นต้องอพยพออกจากหมู่บ้านเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการบอกเล่าของชาวบ้านถึงเหตุการณ์ที่มาให้ตำบลสากอเกิดความเสียหายและยากแก่การฟื้นฟูก คือ เหตุการณ์ไฟไหม้จุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน คือยานตลาดที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากผู้คนและสินค้าที่มาจากแหล่งต่างๆ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ตำบลสากอ ต้องหยุดชะงักความเจริญเนื่องจากผู้คนที่เคยอาศัยอยู่มากต้องย้ายถิ่นฐานออกจากตำบลสากอ การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่เคยมีผู้คนผุกผล่านกลับเงียบเหงา
ปัจจุบันตำบลสากอ เป็นตำบลสากอหนึ่งที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจทั้งทางด้านการเมือง สังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม เป็นชุมชนที่มีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง เนื่องจากเป็นตำบลที่มีความพร้อมในหลายๆด้าน ในการพัฒนาตนเองให้เป็นตำบลที่มีตำบลความเจริญในทุกๆด้าน
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านสากอ องค์การบริหารส่วนตำบลสากอ เดิมเป็นสภาตำบลตามพรบ.สภา ตำบลสากอและองค์การบริหารส่วนตำบลสากอ พ.ศ. 2537 เมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2539 มีพื้นที่ 48.64 ตร.ม.หรือประมาณ 30.398.75 ไร่ ตำบลสากอเป็นตำบล 1ใน 6 ตำบลของอำเภอสุไหงปาดีหางจากอำเภอสุไหงปาดี ทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 9 กิโลเมตรตามเส้นทาง 4193.
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน ตรวจสอบข้อมูล
แยกรายพื้นที่ ระดับตำบล/แขวง
เขตพื้นที่ ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | หมายเหตุ |
๑. | บ้านตือระ | 525 คน | 535 คน | 1,060 คน | – |
๒. | บ้านบอเกาะ | 432 คน | 439 คน | 871 คน | – |
๓. | บ้านบาโงมาแย | 480 คน | 466 คน | 946 คน | – |
๔. | บ้านสากอ | 640 คน | 635 คน | 1,275 คน | – |
๕. | บ้านลาโล๊ะ | 535 คน | 601 คน | 1,136 คน | – |
๖. | บ้านกลูบี | 494 คน | 505 คน | 999 คน | – |
๗. | บ้านสือแด | 502 คน | 520 คน | 1,022 คน | – |
๘. | บ้านยะลูตง | 205 คน | 242 คน | 447 คน | – |
๙. | บ้านสือแด | 277 คน | 318 คน | 595 คน | – |
๑๐ | บ้านตันหยง | 490 คน | 498 คน | 988 คน | – |
๑๑. | บ้านบาโยยือริง | 162 คน | 169 คน | 331 คน | – |
๑๒. | บ้านสรายอ | 359 คน | 377 คน | 736 คน | – |
รวม | 5,101 คน | 5,305 คน | 10,406 คน |
ที่มา : ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลสากอ ณ เดือน ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ ๙๘ ศาสนาพุทธ ร้อยละ ๒
พิกัดตำแหน่ง
- เหนือ ติดต่อกับตำบลกาวะ , ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี และ ตำบลผดุงมาตร
อำเภอจะแนะ - ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเอราวัณ และตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลกาวะ และตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลร่มไทร และตำบลเกียร์ อำเภอสุคิริน
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำสวน/ทำไร่/เกษตรกร
อาชีพเสริม ค้าขาย/ตัดเย็บ
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรในพื้นที่ตำบลสากอ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สวนยาง สวนผลไม้ บางส่วนค้าขาย และรับจ้างทั่วไป โดยหน่วยงานในพื้นที่มีการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพของประชาชน สนับสนุนกิจการการตลาดเพื่อให้ประชาชนมีงานทำ ส่งเสริมการกระจายรายได้ของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมีศูนย์กลางการค้าขนาดเล็กแบบตลาดนัดชุมชน ซึ่งจะมีทุกวันพฤหัสบดี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางสำหรับซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคและวัสดุเครื่องใช้ทางการเกษตรซึ่งมีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน และตลาดสดเทศบาลตำบลสากอ ซึ่งจะให้บริการเป็นประจำทุกวัน