(นางสาวเจ๊ะอัสรีนา  บินเจ๊ะอาหลี )

ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น.ผ้าปาเต๊ะไทยแลนด์

ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น…..ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาศิลปหัตกรรม……

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ…สุไหงโก-ลก………… ตำบล……….สุไหงโก-ลก………………………………………….

ชื่อ – สกุล…นางสาวเจ๊ะอัสรีนา  บินเจ๊ะอาหลี                  

สถานที่ตั้ง/ที่อยู่.    ๓๔๒ ถนนทรายทอง๔ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส…..

พิกัด 6.031854,101.972951     เบอร์โทรศัพท์    ๐๘๑๕๙๘๖๔๐๙

ที่มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น 

               “ปาเต๊ะ”เป็นภาษามลายู หมายถึง ผ้าที่ใช้ด้วยลายพิมพ์ ด้วยขี้ผึ้งและย้อมสีในบริเวณที่เขียนด้วยขี้ผึ้ง โดยสีจะซึมเข้าไป ถ้าต้องการหลายสีต้องย้อมหลายครั้ง จึงจะได้ผ้าย้อมที่ มีสีสันสดใสทั้งผ้าเป็นผืนและผ้าที่นำไปตัดเย็บเป็นชุดสำเร็จรูป โดยชาวบ้านในชุมชนมุสลิม “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบายสี หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าปาเต๊ะอย่างง่ายอาจทำโดยพิมพ์เทียน

                  ผ้าปาเต๊ะ เป็นเครื่องนุ่งห่มที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ลวดลายบนผ้าปาเต๊ะถือได้ว่าเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี วิธีการทําผ้าปาเต๊ะจะใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี  คำว่าปาเต๊ะ  เป็นภาษามลายู  ส่วนคำว่าบาติก เป็นภาษาอินโดนีเซีย ปาเต๊ะมาจากคำว่า บาติค เป็นภาษาอินโดนีเซีย ใช้เรียกผ้าที่เขียนลวดลายด้วยเทียน (Wax Writting) หมายถึง ผ้าที่เขียนด้วยขี้ผึ้งและย้อมสี สีจะไม่ซึมเข้าไปในบริเวณที่เขียนหรือกันด้วยขี้ผึ้ง ถ้าต้องการหลายสีต้องอาศัยวิธีการย้อมหลายครั้งตลอดจนระบายสีในบางส่วน จึงจะได้ผ้าที่มีลวดลายสวยงาม แหล่งกำเนิดของผ้าปาเต๊ะ มีการทำปาเต๊ะในชวา อินเดีย จีน แต่ละแห่งจะมีวิธีการแตกต่างกันเล็กน้อยโดยเฉพาะที่เกาะชวาการทำผ้าปาเต๊ะมีเทคนิคสูงมาก โดยเฉพาะลวดลายการย้อมสี ตลอดจนเนื้อผ้า อินโดนีเซียจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นปาเต๊ะชั้นสูง (Classical Batik) 

                 ปาเต๊ะไทยแลนด์ เริ่ม ก่อตั้ง พ.ศ.25๖๐ ผู้ก่อตั้ง นายเจ๊ะอาแซ บินเจ๊ะอาหลี (บิดา) จากการก่อตั้งของกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน ผ้าปาเตะบาโงเปาะเล็งทำเป็นสินค้าชุมชน มีการจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์และตั้งหน้าขาย ผ่านทางเฟสบู๊ค ปาเต๊ะไทยแลนด์ Tell 0815986409  

ลักษณะเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น

                ปาเต๊ะไทยแลนด์ ปาเต๊ะสยามงานแฮนเมด สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม อัตลักษณ์ท้องถิ่นปักษ์ใต้สุไหงโก-ลก เราอยากเห็นคนไทย ภูมิใจเวลาใช้ของไทยนี่คือ แบรนด์ไทยและฉันภูมิใจกับมัน

จุดเด่นปาเต๊ะ

1 เนื้อผ้าและลวดลายสวยไม่หดตัว ซักรีดง่าย

๒.ตัดเป็นชุดสวยงามสีโดดเด่นเป็นสง่า

๒.มีผ้า 3 ชนิด คือ

1.โสร่ง (Sarong) เป็นผ้าที่ใช้นุ่ง โดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่งโดยทั่วไปนิยมผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 2 หลาครึ่ง ถึง 3 หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษคือ ส่วนที่เรียกว่า ”ปาเต๊ะ” หมายถึง ส่วนที่เรียกว่า หัวผ้า โดยมีลวดลาย สีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่นๆในผ้าผืนเดียวกัน

2. สลินดัง (Salindang) เป็นผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า “ผ้าทับ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับหรือชายผ้าสลินดังมีความยาวประมาณ 3 หลา กว้างประมาณ 8 นิ้ว สตรีนิยมนำผ้าสลินดังคลุมศีรษะ

3. อุเด็ง (Udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า ”ซุรบาน”สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศีรษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า ”เกิมเบ็น” (Kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมชนิดนี้ไม่ปิดบ่าและไหล่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนักเพื่อจะได้ เคลื่อนไหวได้สะดวก

             ความร่วมมือกับกศน.

  เคยเป็นวิทยากรหลักสูตรการทำผ้าปาเต๊ะให้กับกศน.

รูปถ่าย

แบบสำรวจข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นงานผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว