สภาพทั่วไปของตำบลมูโนะ
ตำบลมูโนะ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสุไหงโกลก ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 8 กิโลเมตรเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ ที่บ้านมูโนะเป็นท่าเรือ ซึ่งราษฎรสัญจรไปมาทางแม่น้ำสุไหงโกลก และแวะหยุดพักอาศัย และต่อมาราษฎรได้มาอาศัยบริเวณท่าเรือและตั้งชื่อว่า บ้านมูโนะ ซึ่งคำว่า มูโนะ เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “กาแจมูโนะ”เป็นลักษณะไม้ยืนต้น เปลือกสีดำ ใบคล้ายใบเถาวัลย์ดอกเป็นฟองสีขาว ผลกลม สีเหลือง รสหวาน
ตำบลมูโนะเป็นพื้นที่ชุมชนจะอยู่กันไม่หนาแน่น แต่จะกรุจุกเป็นกลุ่มๆบางพื้นที่โดยเฉพาะในเขตตลาดมูโนะ ซึ่งเป็นตลาดชายแดนที่มีชาวมาเลเซียเข้ามาซื้อของใช้และอื่นๆที่ราคาถูกกว่าประเทศมาเลเซีย ทุกวันประชากรในพื้นที่ตำบลมูโนะประกอบอาชีพรับจ้างในประเทศมาเลเซีย ทำสวน ทำนา กรีดยาง ค้าขาย และอื่นๆตามลำดับ
ข้อมูลอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตากใบ
ทิศใต้ ติดต่อกับ แม่น้ำสุไหงโก-ลก (เขตพรมแดนประเทศมาเลเซีย )และตำบลปาเสมัส
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอตากใบและประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลปูโยะ
ข้อมูลการปกครอง
ตำบลมูโนะแบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 5 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านมูโนะ ผู้ใหญ่บ้านชื่อนายสาลีนี หะยีดอเลาะ
หมู่ที่ 2 บ้านลูโบ๊ะลือซง ผู้ใหญ่บ้านชื่อนายนาทวี ตันเหมนายู
หมู่ที่ 3 บ้านปาดังยอ ผู้ใหญ่บ้านชื่อนายมุสตอปา อาบะ
หมู่ที่ 4 บ้านปูโป๊ะ กำนันตำบลมูโนะชื่อว่าที่ร้อยตรีประเสริฐ อาแว
หมู่ที่ 5 บ้านบูเก๊ะ ผู้ใหญ่บ้านชื่อนายอามาซะ สาอะ
ประวัติความเป็นมาของตำบลมูโนะ
ข้อมูลพื้นฐาน ศกร.ตำบลมูโนะ
ศกร.ตำบลมูโนะ ตั้งอยู่บ้านบูเก๊ะ หมู่ที่ ๕ ตำบลมูโนะ อยู่ห่างจากตัวอำเภอสุไหงโก-ลก ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ ๗ ตำบลปาเสมัส ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ ๒บ้านลูโบ๊ะลือซง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ ๑ บ้านมูโนะ ทิศตะวันตกติดต่อกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลปาเสมัส และ หมู่ที่ ๑ ตำบลปูโยะ
ในปี พ.ศ.2541 ประชาชนบ้านบูเก๊ะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาบวกกับประชาชนมีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้ในวิชาการและอาชีพ ทางคณะกรรมหมู่บ้าน นำโดยนายบูคอรี ดาโอ๊ะ ผู้ใหญ่บ้านบูเก๊ะ ได้ทำการติดต่อกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสุไหงโก-ลก มาให้ความรู้ ฝึกอาชีพ และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนบ้านบูเก๊ะ ในปี พ.ศ.2546 โดยใช้ที่โรงเรียนตาดีกาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
ต่อมาในปี 2549 ศูนย์การเรียนชุมชนมูโนะ ได้ย้ายมาใช้สถานที่อาคารอเนกประสงค์ SML ซึ่งเป็นอาคารโล่งที่สามารถบริการประชาชนได้มากกว่า 150 คน
ในปี พ.ศ.2552 ศูนย์การเรียนชุมชนมูโนะ ได้ยกระดับให้เป็น กศน.ประจำตำบลมูโนะ เพื่อบริการกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนให้กับประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลมูโนะและตำบลใกล้เคียง
ในปี 2563 ศูนย์การเรียนชุมชนมูโนะ ได้ย้ายมาใช้สถานที่อาคารประชารัฐ ซึ่งเป็นอาคารปู่นอิฐ ด้านหน้ากระจก ที่สามารถบริการประชาชนได้มากกว่า 60 คน