บริบทตำบลบาตง

 

1.ที่ตั้งของ กศน.ตำบลบาตง

           ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่  –  หมู่ที่ 4  บ้านบลูกาฮูลู  ตำบลบาตง  อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส  มีพื้นที่จำนวน  20 × 24  ตารางเมตร เป็นอาคารเอกเทศ

 1.1 ประวัติกศน.ตำบลบาตง

           ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบาตง ตั้งอยู่ในรั่วพื้นที่โรงเรียนพนาทักษิณ หมู่ที่ 4 บ้านบลูกาฮูลู ตำบล  บาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศ ได้รับการสนับสนุนอาคารจากองค์การบริหารส่วนตำบลบาตง เมื่อปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมาขนาดพื้นที่ ตำบลบาตงมีเนื้อที่ประมาณ ๔๐,๙๒๙ ไร่ หรือประมาณ ๖๕.๔๙ ตารางกิโลเมตร

2.ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

                         ทิศเหนือ           เป็นอาณาเขตติดต่อตำบลบาตง

                         ทิศตะวันออก     เป็นอาณาเขตติดต่อตำบลรือเสาะ

                         ทิศตะวันตก       เป็นอาณาเขตติดต่อตำบลโคกสะตอและจังหวัดยะลา

                         ทิศใต้               เป็นอาณาเขตติดต่อตำบลโคกสะตอ

3.ประวัติของตำบลบาตง

                        ตำบลบาตงเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส  เดิมทีสภาพพื้นที่ของตำบลนี้มีต้นไผ่ตงขึ้นอยู่ทั่วไป ใครจะไปใครจะมามักจะพูดว่า ไปบูโละตง ซึ่งมีความหมายก็คือ ไปพื้นที่ที่มีไม้ไผ่ตงจำนวนมาก ต่อมาคำว่า บูโละตงได้พูดเพี้ยนเป็น “บือตง” และเพี้ยนต่อมาเป็น “บาตง” มาจนถึงปัจจุบัน        

ตำบลบาตงมีหมู่บ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้าน

                        แต่ละหมู่บ้านจะมีประวัติความเป็นมาและมีตำนานความเชื่อเล่าขานกันมามากมาย ซึ่งจะมีความน่าสนใจและมีความหลากหลายแตกต่างกันไป

หมู่ที่ 1 “บ้านตะแม็ง”  หมายความว่า มีดเกี่ยวข้าว ตำบลบาตง อำเภอรืเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่เดิมเป็นป่าละเมาะ อยู่ ทางทิศตะวันตกของตำบลรืเสาะ  ติดกับแม่น้ำสายบุรี จึงทำให้เรียกว่า ตะแมง เป็นภาษามาลายูท้องซึ่งหมายถึง มีดที่เกี่ยวข้าวของคนสมัยก่อน ปัจจุบันนี้เลยตั้งชื่อบ้านเป็นหมู่บ้านตะแม็งในปัจจุบัน

หมู่ที่ 2 “บ้านสันติสุข”  หมายความว่า อยู่อย่างสงบสุข ตำบลบาตง อำเภอรืเสาะ จังหวัดนราธิวาส เดิมมีประชากรอาศัยอยู่เป็นกลุ่มชนต่างๆ ดังนี้ คือกลุ่มชนบาโงลาเวง กลุ่มบางายอ กลุ่มยาแม กลุ่มบาดงตือแย กลุ่มบาโงเตียง กลุ่มฆององ กลุ่มตะบิงตีงี และในปัจจุบันกลุ่มชนหลายๆ กลุ่มนี้ได้มารวมตัวมาอยู่รวมกัน ในพื้นที่ 3 กลุ่มกลัก คือกลุ่มบ้านบางายอ และกลุ่มบ้านยาแม เลยตั้งชื่อบ้านเป็นหมู่บ้านสันติสุข

หมู่ที่ 3 “บ้านบาตง”  หมายความว่า ชื่อไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส บ้านบาตงได้ตั้งชื่อนี้ตามสภาพภูมิศาสตร์ในสมัยก่อนซึ่งเดิมพื้นที่นี้จะมีป่า ไม้ไผ่ตงซ่างภาษามาลายูท้องถิ่นเรียกว่าไม้ไผ่บือตงขึ้นอยู่เต็มไปหมดจนถึงสมัยราชการที่ 5 ผู้คนกลุ่มหนึ่งได้บุกเบิกเข้ามาอาศัยในป่าแห่งนี้และต่อมามีคนมาอพยพมามากขึ้นจึงได้คัดเลือกผู้นำชุมชน และให้ผู้นำชุมชนตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นซึ่งมีนามว่าหมู่บ้านบือตง แต่ต่อมาเกิดการแปลงภาษาจนถึงปัจจุบันเรียกกันว่าบ้านบาตง

หมู่ที่ 4 “บ้านบลูกาฮูลู”  หมายความว่า ป่าละเมาะตำบลบาตง  อำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส เริ่มประมาณปี พ.ศ. 2346 หรือประมาณ 202 ปี มาแล้ว มีชาวบ้านคนหนึ่งที่เดิมทางมาจากบ้านสุเปะ ตำบลเรียง ชื่อว่านายสาและ(ไม่ทราบนามสกุล) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “โต๊ะยาโงะ”

ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ หมู่บ้านบลูกาฮูลู  ปัจจุบันซึ่งในสมัยนั้น พื้นที่หมู่บ้านบลูกาฮูลู แห่งนี้เคยเป็นป่ารกร้างที่ผ่านการปลูกอ้อยมาแล้ว ซึ่งนายสาและ หรือโต๊ะยาโง ท่านนี้เป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาอิสลามมากท่านหนึ่งในสมัยนั้น ปัจจุบันลูกหลานของท่านโต๊ะ ณ หมู่บ้านบลูกาฮูลู แห่งนี้ประมาณ 20  ของทั้งหมด มีหมู่ย่อย เป็น 1.บ้านบลูกาฮูลู   2.บ้านฮาปือเราะ  3. บาสาอะตะห์                 

หมู่ที่ 5 “บ้านตันหยง”  หมายความว่า ต้นพิกุล ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ตันหยงเป็นภาษามาลายูท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงต้นพิกุล เดิมที่ตั้งหมู่บ้านตันหยงนั้น เป็นป่ามีต้นไม้กลากหลายชนิดและมีต้นพิกุลใหญ่ต้นหยงอยู่ข้างทาง ซึ่งเป็นจุดเด่นของป่านี้ ต่อมาได้มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งบุกเบิกพื้นที่ป่าให้เป็นหมู่บ้าน   จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านตันหยง ซึ่งใช้เรียกกันจนมาถึงปัจจุบัน

หมู่ที่ 6 “บ้านบลูกาฮีเล”  หมายความว่า ป่าละเมาะ ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส  บ้านบลูกาฮีเล หมู่ที่ 6 แต่เดิมเป็นป่าละเมาะ อยู่ทางทิศเหนือของตำบลบาตง จึงทำให้เรียกว่า บลูกาฮีเล แยกเป็นหมู่บ้านอีก 3 หมู่บ้าน คือกำปงบาโร๊ะ กำปงมูบา กำปงบลูกาฮีเล และบ้านบลูกาฮีเลตะวันตก แต่ปัจจุบันได้แยกออกเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง

หมู่ที่ 7 “บ้านกำปงบูเก๊ะ”  หมายความว่า ภูเขา จากเดิมหมู่ที่ 7 บ้านกำปงบูเก๊ะอยู่ใน หมู่ที่ 6 บ้านบลูกาฮีเล ต่อมาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2524 มีการแยกหรือจัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ ภายหลังจากที่มีการย้ายตัวของชุมชนมาขึ้น นั้นคือหมู่บ้าน 7 บ้านกำปงบูเก๊ะ เป็นที่ราบสูง ชาวบ้านก็เลยเรียกติดปากว่า     “บูเก๊ะ”ซึ่งหมายถึงภูเขา หรือพื้นที่ สูงหมู่ที่ 7 บ้านกำปลบูเก๊ะมีชื่อย่อย อีกหลายชื่อหมู่บ้าน คือบ้านตังหยง,บ้านบาส์,บ้านบาแสฮาตู,บ้านกาแลเร,บ้านกำปงเก๊ะและบ้านฆือรุง           

หมู่ที่ 8 “บ้านบลูกาฮีเลตะวันตก”  หมายความว่า ป่าละเมาะทางทิศตะวันตก ตั้งอยู่ที่ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อสมัยก่อนเป็นหมู่ที่ 6 ซึ่งประชากรมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2543 ได้แยกจากบ้านบลูกาฮีเล หมู่ที่ 6 มาเป็นบ้านบลูกาฮีเลตะวันตก เป็นหมู่ที่ 8 ซึ่งทางทิศตะวันตก จึงได้เรียกว่า “ฮีเลตะวันตก” จนถึงปัจจุบันนี้