บริบทปอเนาะ

ข้อมูลพื้นฐานของสถาบันศึกษาปอเนาะ
สถาบันศึกษาปอเนาะ…..กุรอ่านกูเร๊าะฮ์ซับอียะห์…………กศน.อำเภอ…บาเจาะ….

 บริบทข้อมูลพื้นฐานสถาบันศึกษาปอเนาะ

1) รายละเอียดสถาบันศึกษาปอเนาะ ( สภาพพื้นที่ ขนาดพื้นที่ ที่ตั้ง ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมติดต่อสื่อสาร)

ประวัติความเป็นมาของสถาบันศึกษาปอเนาะกุรอ่านกูเร๊าะฮ์ซับอียะห์
               สถาบันศึกษาปอเนาะกุรอ่านกูเร๊าะฮ์ซับอียะห์  ก่อตั้งขึ้นประมาณ  พ.ศ.  2516  โดยมีนางรอเมาะ  ซามะเด็ง  เป็นเจ้าของสถาบันศึกษาปอเนาะเดิมทีสถาบันศึกษาปอเนาะแห่งนี้เป็นโรงเรียนตาดีกาสอนอัล-กุรอ่านในช่วงเย็นของทุกๆวัน  ในหมู่บ้าน  ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า  ตะมอซา  ผู้ก่อตั้งสถาบันเดิมอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกือดายือริง  ซึ่งอยู่ถัดจากไปจากหมู่บ้านตะมอซา  จึงขอร้องให้ผู้สอนมาประจำอยู่ที่นี่  ชาวบ้านได้สร้างบ้านบ้านและอาคารเรียนให้  หลักจากนั้นจึงได้ย้ายเวลาสอนอัลกุรอ่านจากช่วงเย็นมาเป็นช่วงกลางคืนและช่วงเช้า  ซึ่งระยะเวลาของการเรียนอัลกุรอ่านนั้นไม่ได้กำหนดระยะเวลา  ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเป็นหลักปัจจุบัน  ยังมีผู้สนใจเข้ามาสมัครเรียนอัล-กุรอ่านในสถาบันศึกษาปอเนาะแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง  และได้โอนกิจการปอเนาะจากนางรอเมาะ  ซามะเด็ง                                 ให้นายอาหาหมัดซูเฮล  ยีลาดอ  บุตรชายเป็นผู้รับใบอนุญาตสถาบันศึกษาปอเนาะกูรอ่านกูเร๊าะซับอียะห์สืบมา  และได้จัดการเรียนการสอนเป็นระบบมากขึ้น

1) สถานที่ตั้ง และลักษณะพื้นที่ตั้ง
สถาบันศึกษาปอเนาะกุรอ่านกูเร๊าะฮ์ซับอียะห์ ตั้งอยู่เลขที่ 1/3 หมู่ที่ 8 (บ้านกือดายือริง)  ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส บนเนื้อที่ 3 ไร่ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ มีต้นไม้ล้อมรอบ บรรยากาศร่มรื่น ห่างจาก กศน.อำเภอบาเจาะ ประมาณ 11 กิโลเมตร

 ประวัติตำบลปะลุกาสาเมาะ
                ตำบลปะลุกาสาเมาะก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2240 เดิมแรก ก่อนที่จะจัดตั้งตำบล ดินแดนแห่งนี้จะปกคลุมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดกับมีที่ราบสูงตั้งตระหง่านซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของตำบลซึ่งเรียกว่า “เทือกเขาบูโด” คำว่า “ปะลุกา” (บลูกา) หมายถึง ทุ่งหรือ ป่าใส เป็นพื้นที่กว้างที่มีต้นไม้ไม่มากนัก หรือที่มีต้นไม้ขึ้นเป็นหย่อมๆหรือเป็นกลุ่มๆ และคำว่า “สาเมาะ”คนไทยเรียกว่าต้นสมัก เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ผลสาเมาะสามารถกินได้ เหมือนกับลูกหว้า ซึ่งเอาคำเหล่านั้นมารวมกัน “บลูกาสาเมาะ”ทุ่งสาเมาะ หรือป่าใสสมัก หมายถึง พื้นที่ทุ่งที่เต็มไปด้วยต้นสาเมาะ ปัจจุบันเป็น “ปะลุกาสาเมาะ” เริ่มก่อตั้งเมื่อ 300 ปีมาแล้ว ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด

 ลักษณะภูมิประเทศ
              การบริหารตำบลปะลุกาสาเมาะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๑ หมู่บ้าน เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะมี ๑๐ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 2 บ้านปะลุกาสาเมาะ        หมู่ที่ 3 บ้านตะโละตา
หมู่ที่ 4 บ้านเชิงเขา                 หมู่ที่ 5 บ้านมะยูง
หมู่ที่ 6 บ้านบือแนแฆมอง          หมู่ที่ 7 บ้านปะลุกาแปเราะ
หมู่ที่ 8 บ้านกือดายือริง           หมู่ที่ 9 บ้านกาบุ๊
หมู่ที่ 10 บ้านชะมูแว               หมู่ที่ 11 บ้านมาแฮ
เขตเทศบาลตำบล ต้นไทรมี 2  หมู่บ้าน  ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านบือแนปีแย หมูที่ 6 บ้านบาตู
หมายเหตุ หมู่ที่ ๖  แบ่งเขตปกครององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น ๒  ส่วน

 พื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ
               อบต. ปะลุกาสาเมาะห่างจากที่ว่าการอำเภอบาเจาะ ทางทิศเหนือประมาณ 13 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 3004 ตร.กม. หรือประมาณ 18,775 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตอบกลางมีภูเขาหนาแน่นทางทิศตะวันตก ประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด

 เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ อบต.ละหาร อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
ทิศใต้ ติดกับ อบต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดกับ เทศบาลต.ต้นไทร อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.ตะโละดือรามัน อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี

 อาชีพ
          อาชีพหลัก ทำสวน / ทำไร่
อาชีพเสริม รับจ้าง

 การนับถือศาสนา
              ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ นับถือศาสนาอิสลาม ๙๗.๓๕  % และนับถือศาสนาพุทธ ๒.๖๕ % ภาษาที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นประมาณ ๙๐ % และภาษาไทยประมาณ ๑๐ %

– มัสยิด           จำนวน 10      แห่ง

– สุเหร่า           จำนวน 7        แห่ง

– วัด               จำนวน 1        แห่ง

 สาธารณูปโภค

จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,477 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 300 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ของจำนวนหลังคาเรือน

 การเดินทาง

ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42

 2) พิกัดตำแหน่งสถาบันศึกษาปอเนาะ

          6.60028  / 101.61488

 นโยบายของสถาบันปอเนาะกุรอ่านกูเร๊าะฮ์ซับอียะห์

  1. ส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนา ( อัลกุร-อ่าน ) วิชาสามัญ  ( หลักสูตร กศนฺ )  และวิชาชีพเพื่อแสดงความต้องการของตลาดแรงงาน  และความต้องการของท้องถิ่น
  2. ปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม การประพฤติปฏิบัติตามหลักการศาสนาอย่างเคร่งครัดการมีระเบียบวินัย  การรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม  การคิดอย่างชาญฉลาดและปราศจากอบายมุข
  3. ส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมระหว่างสถาบันปอเนาะกับชุมชน

 ปรัชญาสถาบันศึกษาปอเนาะกุรอ่านกูเร๊าะฮ์ซับอียะห์

علمو  ايت  سباكي  فمباواء  جالن  كهيدوفن

(ศาสน์และความรู้  คือ  แนวทางนำชีวิต)

วิสัยทัศน์

เสริมสร้างความรู้ด้านศาสนา   สามัญ  และวิชาชีพ  ให้รู้จักและเข้าใจตนเอง  มีทักษะชีวิต  สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมปัจจุบัน  และเตรียมพร้อมสู่อนาคต สร้างพัฒนาบุคลิกภาพ  ลักษณะนิสัยให้มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ สร้างความคิดให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

 พันธกิจ

  1. การสอนสายศาสนา สามัญ  และวิชาชีพให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
  2. จัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพ  มอบประกาศนียบัตรเมื่อนักเรียนจบการศึกษาในแต่ละระดับชั้นเพื่อรับรองคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน

 สภาพทั่วไปของอาคารเรียนและสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณปอเนาะ

  • ป้ายชื่อสถาบันศึกษาปอเนาะ (อยู่หน้าปอเนาะ)
  • อาคารเรียน จะมีลักษณะ 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง ประกอบด้วย
    • ห้องสมุด
    • ห้องอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า
    • ห้องเรียน
    • ห้องประชุม
    • ห้องมุมส่งเสริมการอ่าน
    •  อาคารละหมาด (มัดราซะห์)

ใช้สำหรับประกอบพิธีละหมาดทางศาสนา  จัดเรียนอัลกุรอาน และกิจกรรมโครงการบรรยายธรรม และตามสิ่งสมควร

  • บ้านพักบาบอ
  • อาคารสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ในการประกอบอาหาร

–    หอพักนักศึกษาหญิง  จะอยู่ชั้น 2 ของอาคารเรียน มีลักษณะกั้นทำเป็นห้อง และนอนรวม

–    ห้องน้ำชาย   จำนวน  1  หลัง

–    ห้องน้ำหญิง  จำนวน  1  หลัง

–    ที่อาบน้ำละหมาดหญิง

–    สนามหญ้า

–    สำหรับเล่นกีฬาต่าง ๆ

–   แปลงเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

–   บ่อเลี้ยงปลา/สระว่ายน้ำ

–  ที่กักเก็บน้ำสะอาดใช้ในชีวิตประจำวัน

–  สวนหย่อม (สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ)

–  ศาลาพักกาย

 ข้อมูลบุคลากรในสถาบันศึกษาปอเนาะ

บุคลากรในสถาบันศึกษาปอเนาะ ดังนี้

3) ชื่อและเบอร์ติดต่อ ของครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ

ชื่อ-สกุล นายยาการียา ลาเต๊ะ   ครูอาสาฯประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ  ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 33/2 หมู่ที่ 4  ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ  จังหวัดปัตตานี    94230

การศึกษา ระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณทิต (บธ.บ.) เอกการบัญชี  จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

โทรศัพท์ติดต่อ 089-2938289

4) ลิ้งเว็บไซต์ หรือFanpage สถาบันศึกษาปอเนาะ

  https://web.facebook.com/kuraankurohsabaeeyah

5) ข้อมูลสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า นำประปา) โทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ต

– ไฟฟ้า  มีอยู่ในห้องเรียน ห้องน้ำ บาลัย และอื่นๆ

– น้ำประปา ก็สามารถเอาน้ำประปามาเอาน้ำละหมาด และแปลงเกษตร

– โทรทัศน์ ไม่มี

– อินเตอร์เน็ต  ขณะนี้ได้ยกเลิกการใช้อินเตอร์เน็ตไปก่อนเพื่อรอการจัดสรรจากรัฐบาล

 6) จำนวนคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และอุปกรณ์ของสถาบันศึกษาปอเนาะ

– คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จำนวน 1 เครื่อง  ได้รับจากทหารเชิงเขา

– คอมพิวเตอร์โนตบุค จำนวน 4 เครื่อง ได้รับจากศึกษาธิการภาค 8  และจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากสำนักงาน กศน.จังหวัดนราธิวาส และกศน.อำเภอบาเจาะ

– เครื่องฉายโปรเจกเตอร์  จำนวน 1 เครื่อง ได้รับจากศึกษาธิการภาค 8

7) จำนวนผู้เข้ารับบริการในมุมเรียนรู้ที่สถาบันศึกษาปอเนาะ

– จำนวนผู้เข้ารับบริการ มุมเรียนรู้ปอเนาะ เฉลี่ยต่อเดือน 15 คน ต่อปี 180 คน

8) ทำเนียบบุคลากรของสถาบันศึกษาปอเนาะ

9) ทำเนียบคณะกรรมการสถาบันศึกษาปอเนาะ

10) จำนวนนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้ได้แค่ 1 เครื่อง ต้องสับเปลี่ยนการใช้  บางวันผู้มาเรียนก็ใช้ตามสภาพ
– เฉลี่ย  3 คน/วัน