This page has its layout set to Left Sidebar. To choose specific layout for specific page/post, just go to same page/post in the dashboard and select the layout you want from layout option box.
1.ข้อมูลสถานที่ตั้ง และลักษณะพื้นที่ตั้ง
ประวัติความเป็นมาของสถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน
สถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน ตั้งอยู่ที่ 143 หมู่ที่ ๕ (บ้านมะยูง) ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส บนเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่
สถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน เริ่มจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านในหมู่บ้านเป็นอย่างดี โดยมี นายดอเล๊าะ โอ๊ะหลง เป็นโต๊ะครู (บาบอ) เป็นผู้สอน อบรมและมีผู้ช่วยอีก 2 -3 คน โดยขึ้นป้ายใช้ชื่อปอเนาะว่า “มะฮ์ฮัดอัล-ฟุรกอน” (แต่เดิม)
แรกเริ่มได้ทำการสอนสำหรับเด็ก ๆ ตาดีกา เสาร์ – อาทิตย์ ซึ่งได้แบ่งเป็น 2 ห้อง มีนักเรียนทั้งหมด 45 คนรวมชาย-หญิง โดยใช้อาคารที่ทำกับไม้และจาก ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ส่วนเด็กปอเนาะที่อยู่ประจำ จำนวน 30 คน จะเรียนกีตาบ
ปี พ.ศ. 2536 ได้จัดทำสร้างอาคารที่ละหมาดชั่วคราว (บาลาเซาะฮ) ที่ทำกับไม้และจากได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2536 และเป็นที่เรียนหนังสือ (กีตาบ) สำหรับเด็กในที่อยู่ประจำและชาวบ้านในพื้นที่
ปีพ.ศ. 2537 ได้ขุดบ่อและสร้างสถานที่ ที่อาบน้ำละหมาด สำหรับเด็กในปอเนาะ ซึ่งร่วมกันขุดบ่อและสร้างขึ้น
ปีพ.ศ. 2538 ได้รับงบการกุศล จากมูลนิธิฟื้นฟูมรดกอิสลาม ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนหนึ่ง เพื่อสร้างมัสยิดในปอเนาะ แทนอาคารไม้และจาก ซึ่งกำลังพุพังเต็มที่ รวมทั้งห้องน้ำ 3 ห้อง
ปีพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ทำการสร้างอาคารเรียนหลังหนึ่งเพื่อเป็นสถานที่เรียนหนังสือแทนที่อาคารเก่าที่ทำด้วยไม้และจาก ซึ่งกำลังพุพังเต็มที่แล้ว ร่วมกันสร้างโดยช่างคนในหมู่บ้าน เป็นที่เรียนตาดีกาและท่องจำอัล-กุรอ่าน ซึ่งตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน 2540 และยังคงอยู่จนถึงขณะนี้
ห้าปีเศษ ที่ปอเนาะอัล-ฟุรกอน อยู่ในวามเจริญรุ่งเรืองมาก หลังจากห้าปีผ่านไป เด็กในปอเนาะก็ค่อย ๆ ทยอยออก เนื่องจากอุปสรรคบางประการทำทำให้เด็กเหล่านี้ต้องออกไปเรียนที่สถาบันอื่นและโรงเรียนเอกชนศาสนาอิสลาม เช่น โรงเรียนอัตดีนียาตุลอิสลามียะห์ โรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา โรงเรียนดารุลศาสตร์วิทยา โรงเรียนอัดตัรกียะห์อิสลามมียะห์และอื่นๆ ประกอบกับในขณะนั้นทางปอเนาะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ถูกต้องตามกฎหมาย
หลังจากเกิดความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งทางรัฐบาลพยายามแก้ไขสถานการณ์ โดยการให้ปอเนาะเข้าสู่ระบบ คือให้ปอเนาะที่อยู่ในจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ไปจดทะเบียนที่ สำนักผู้จรวจราชการเขต 12 จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียน
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ได้รับใบอนุญาตให้จดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะ อย่างเป็นทางการจำนวน 214 สถาบัน ที่อยูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอดิศัย โพธารามิกเป็นผู้มอบให้ ณ โรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา โดยใช้ชื่อว่า “สถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน” ทะเบียนเลขที่ 3960300238718/2547
หลังจากได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการแล้ว ทางสถาบันศึกษาปอเนาะจังได้รวบรวมเด็กนักเรียน เยาวชนที่เรียนอัล-กุรอ่าน กีตาบ ในสถาบันศึกษาปอเนาะขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อมาอบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม และหลักคำสอนของศาสนาที่ถูกต้อง เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตร ด้านประมง ด้านปศุสัตว์ ด้านอนามัย และอื่น ๆ
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 ทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนราธิวาส โดยให้ครูอาสาฯประจำปอเนาะมาอยู่ในสถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อที่จะได้ประสานงานระหว่างสถาบันศึกษาปอเนาะกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนราธิวาส โดยเปิดการสอนสายสามัญและสายอาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 เริ่มทำการสอนในรูปแบบ กศน. โดยปรับพื้นฐานภาษาไทยสายสามัญ ม.ต้นให้นักเรียนและเยาวชนไนพื้นที่ใกล้เคียง ที่มาเรียนหนังสือและกีตาบในกลางคืนที่ประสงค์อยากจะเรียนสายสามัญ
ปัจจุบัน นายดอเล๊าะ โอ๊ะหลง ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 โดยมีบุตชาย ชื่อนายมูฮัมมัดอันนุมาน โอ๊ะหลง เป็นผู้แทนรับผู้บริหารในสถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน ต่อไป
พื้นที่ตั้ง
สถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน ตั้งอยู่เลขที่ 143 หมู่ที่ ๕ (บ้านมะยูง) ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส บนเนื้อที่ 6 ไร่ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ มีต้นไม้ล้อมรอบ บรรยากาศร่มรื่น
ประวัติตำบลปะลุกาสาเมาะ
ตำบลปะลุกาสาเมาะก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2240 เดิมแรก ก่อนที่จะจัดตั้งตำบล ดินแดนแห่งนี้จะปกคลุมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดกับมีที่ราบสูงตั้งตระหง่านซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของตำบลซึ่งเรียกว่า “เทือกเขาบูโด” คำว่า “ปะลุกา” (บลูกา) หมายถึง ทุ่งหรือ ป่าใส เป็นพื้นที่กว้างที่มีต้นไม้ไม่มากนัก หรือที่มีต้นไม้ขึ้นเป็นหย่อมๆหรือเป็นกลุ่มๆ และคำว่า “สาเมาะ”คนไทยเรียกว่าต้นสมัก เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ผลสาเมาะสามารถกินได้ เหมือนกับลูกหว้า ซึ่งเอาคำเหล่านั้นมารวมกัน “บลูกาสาเมาะ”ทุ่งสาเมาะ หรือป่าใสสมัก หมายถึง พื้นที่ทุ่งที่เต็มไปด้วยต้นสาเมาะ ปัจจุบันเป็น “ปะลุกาสาเมาะ” เริ่มก่อตั้งเมื่อ 300 ปีมาแล้ว ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด
อาณาเขต
ตำบลปะลุกาสาเมาะมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๑๘,๗๗๕ ไร่ หรือประมาณ ๓๐.๐๔ ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ |
จรดกับ |
ตำบลละหาร |
อำเภอสายบุรี |
จังหวัดปัตตานี |
ทิศตะวันออก |
จรดกับ |
ตำบลไทรทอง |
อำเภอไม้แก่น |
จังหวัดปัตตานี |
ทิศใต้ |
จรดกับ |
ตำบลบาเระเหนือ |
อำเภอบาเจาะ |
จังหวัดนราธิวาส |
ทิศตะวันตก |
จรดกับ |
ตำบลตะโละดือรามัน |
อำเภอกะพ้อ |
จังหวัดปัตตานี |
ภูมิประเทศ
การบริหารตำบลปะลุกาสาเมาะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๑ หมู่บ้าน เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะมี ๑๐ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 2 |
บ้านปะลุกาสาเมาะ |
หมู่ที่ 3 |
บ้านตะโละตา |
หมู่ที่ 4 |
บ้านเชิงเขา |
หมู่ที่ 5 |
บ้านมะยูง |
หมู่ที่ 6 |
บ้านบือแนแฆมอง |
หมู่ที่ 7 |
บ้านปะลุกาแปเราะ |
หมู่ที่ 8 |
บ้านกือดายือริง |
หมู่ที่ 9 |
บ้านกาบุ๊ |
หมู่ที่ 10 |
บ้านชะมูแว |
หมู่ที่ 11 |
บ้านมาแฮ |
เขตเทศบาลตำบล ต้นไทรมี 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย |
|||
หมู่ที่ 1 |
บ้านบือแนปีแย |
หมูที่ 6 |
บ้านบาตู |
หมายเหตุ หมู่ที่ ๖ แบ่งเขตปกครององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น ๒ ส่วน
การคมนาคม
การคมนาคมของสถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน จาก กศน.อำเภอบาเจาะ ถึงสถาบันศึกษาปอเนาะ ประมาณ ๑๑ กิโลเมตร หมู่ที่5 บ้านมะยูง ปากทางเข้าทางอีโอ๊ะ ต.บาเระเหนือ ถนนลาดยางมะตอย เข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตรถึงสถาบันศึกษาปอเนาะ
นโยบายของสถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน
- เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
- เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลอันเป็นส่วนประกอบของสังคมให้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม จริยธรรม
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านศาสนา สามัญและวิชาชีพ
- เพื่อให้รักและเข้าใจตนเอง มีทักษะชีวิต สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสู่อนาคต
- เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัยให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
- เพื่อให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ปรัชญาสถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน (Falsafah Pondok Al-forqan)
มีความรู้ ควบคู่การปฏิบัติ เพียบพร้อมจริยธรรม
Berilmu Beramal Beraklak
วิสัยทัศน์
สถาบันศึกษาปอเนาะอัล-ฟุรกอน มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านศาสนา ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพโดยสอนให้ผู้เรียนมีความรู้จริง สามารถนำไปปฏิบัติได้ มีความประพฤติดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
พันธกิจ
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
- ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียน โดยยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ร่วมกับการปฏิรูปการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ
- พัฒนาสมรรถนะของผู้สอนให้มีประสิทธิภาพ
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สภาพทั่วไปของอาคารเรียนและสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณปอเนาะ
ป้ายชื่อสถาบันศึกษาปอเนาะ (อยู่หน้าปอเนาะ)
- อาคารเรียน จำนวน 1 หลัง
-ห้องสมุด
-ห้องรับแขก
-ห้องเรียน
-ห้องประชุม
- อาคารเอนกประสงค์ จำนวน ๒ หลัง
– ห้องเอนกประสงค์แบบเปิด
– ห้องเอนกประสงค์แบบปิด
- อาคารละหมาด (มัดราซะห์)
ใช้สำหรับประกอบพิธีละหมาดทางศาสนา จัดเรียนอัลกุรอาน และกิจกรรมโครงการบรรยายธรรม
- บ้านพักบาบอ
- บ้านพักรับรอง
- บ้านพักอุซตาส ๑ หลัง
- หอพักผู้สูงอายุ จำนวน 3 หลัง แบบไม้
- หอพักนักศึกษาชาย
– จำนวน ๔ หลัง ปอเนาะแบบไม้ ยกพื้น
– จำนวน ๘ หลัง อาคารไม้ฝาเชอร่า บ้านไม้ ยกพื้น
- ห้องน้ำชาย จำนวน 3 หลัง
- ห้องน้ำหญิง จำนวน 1 หลัง
- สนามหญ้า
-สำหรับเล่นกีฬาต่าง ๆ
- แปลงเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ที่กักเก็บน้ำสะอาดใช้ในชีวิตประจำวัน
- สวนหย่อม (สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ)