บริบทตำบล

ศกร.ตำบลบูกิต

ประวัติความเป็นมา กศน.ตำบลบูกิต

         กศน.ตำบลบูกิต เป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาที่ใช้อาคารกรมป่าไม้ เป็นสถานที่ตั้ง กศน.ตำบล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้มีข้อจำกัดในพบกลุ่มและจัดกิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุนี้หน่วยงานต้นสังกัดโดยนายสุรสิทธิ์ สุดสาย ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดนราธิวาส นายคมกฤช สาหลัง ผู้อำนวยการกศน.อำเภอเจาะไอร้อง ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ประสานงานกับภาคีเครือข่ายของ กศน.อำเภอเจาะไอร้องซึ่งได้แก่ นายอับดุลรอเซะ มะรือสะ กำนันตำบลบูกิต และสถานีรถไฟบ้านไอสะเตีย ตำบลบูกิต การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่องสถานที่ตั้ง กศน.ตำบลบูกิต เพื่อเป็นพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมเป็นผู้ให้ผู้เสียสละ ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ในการสร้างอาคารเรียน กศน. นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาคารเรียน กศน.ตำบล ให้กับกศน.ตำบลบูกิตเพื่อให้บุคลากร นักเรียนของกศน.และชุมชนได้มีอาคารพร้อมใช้งาน อีกทั้งอาคารเรียนหลังนี้ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของชุมชน เพื่อใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างชุมชนกับโรงเรียนอีกด้วย ถือเป็นกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ของคนในชุมชน ทำให้มีส่วนร่วมกับการก่อสร้างอาคารเรียนเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการพัฒนาและรักษาสภาพท้องถิ่นของตนเอง ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชาวบ้าน และครูอาจารย์ในพื้นที่ที่ระดมแรงกายแรงใจมาช่วยงานก่อสร้าง ประกอบอาหาร เด็กนักเรียนมาช่วยบริการน้ำดื่ม ไม่เพียงเท่านี้ยังได้รับน้ำใจจากรั้วของชาติ ทหาร มาช่วยเสริมแรง คนละไม้คนละมือร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนชั้นเดียว หวังให้อาคารหลังนี้เป็นแหล่งศึกษาเล่าเรียน ขยายโอกาส และพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาให้แก่น้อง ๆ เยาวชนในพื้นที่ กว่าจะสำเร็จเป็นอาคารเรียนหลังใหม่ที่สวยงามพร้อมให้นักศึกษา กศน.ตำบลบูกิต ได้ใช้ศึกษาเล่าเรียนนั้น เบื้องหลังชาวบ้าน ครู และทุกคนต้องทำงานท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนระอุ สลับกับสายฝนที่โปรยปรายลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยความมุ่งมั่นของจิตอาสาที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทำงานกันอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำเปลี่ยนพื้นที่รกร้างจากกองดินเป็นอาคารเรียนจนเสร็จสมบูรณ์ การให้โอกาสทางการศึกษา ถือเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นการลงทุนทางปัญญาที่คุ้มค่าที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ด้วยมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเห็นเด็กๆ เติบโตเป็น “คนเก่งและดี” ในวันหน้าเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของชุมชม สังคม และประเทศในอนาคตต่อไป