สถาบันศึกษาปอเนาะดารุลอูลูม

บริบทปอเนาะ

บทข้อมูลพื้นฐานสถาบันศึกษาปอเนาะ

1) รายละเอียดสถาบันศึกษาปอเนาะ ( สภาพพื้นที่ ขนาดพื้นที่ ที่ตั้ง ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมติดต่อสื่อสาร)

ประวัติความเป็นมาของสถาบันศึกษาปอเนาะดารุลอูลูม สถาบันปอเนาะดารุลอูลุม ก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2548 โดยมีนายอายิ ดาฮามิ เป็นเจ้าของสถาบันปอเนาะเดิมสถาบันปอเนาะแห่งนี้เป็นที่สอนอัลกรุอ่านและกึตาบให้กับคนในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่จะเป็นวัยกลางคนหรือวัยชราในทุกๆวัน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ปอเนาะบือเระ ผู้ก่อตั้งสถาบันเดิมอาศัยอยู่ที่จังหวัดปัตตานีแต่ได้สมรสกับคนในพื้นที่ จากนั้นจึงได้ก่อตังปอเนาะบือเระขึ้น เพราะคนในหม่บ้านบือเร๊ะ ขอร้องให้มีการสอนอัลกรุอ่าน ชาวบ้านได้ก่อสร้างอาคารเรียนในเริ่มแรกในปี พศ.2548 ได้มีบ้านพัก 2หลังและมีเด็กบริเวณหมู่บ้านเด็ดหมู่บ้านแลเด็กใกล้เคียง 20 คนเพื่อให้บาบอได้สอน ต่อมาในปี พศ.2549 ชาวบ้านได้สร้างปอเนาะ 3หลัง จำนวน 6ห้องและได้จดทะเบียนปอเนาะในปี พศ. 2550 โดยมีนาย วาโซ๊ะ วาเซ็งและคนในหมู่บ้านร่วมกันจัดงานโดยรายได้ส่วนมาจากการแคเราะห์ โดยได้จากการรับบบริจาคได้ประมาน 4000 บาทและได้รวมมือการสร้างปอเนาะ หลังจากนั้นจึงมีอัลกรุ-อ่านและกีตาบในช่วงเช้าช่วงกลางวันและค่ำ ซึ่งระยะเวลาสอนกีตาบในขณะนั้นไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเป็น ปัจจุบัน ยังมีผู้สนใจเข้ามาสมัครที่สถาบันปอเนาะอย่างต่อเนื่อง และได้โอนกิจกรรมปอเนาะ จากนายอายิ ดาฮามิมาเป็นผู้รับใบอนุญาตสืบมา และได้จัดการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน

พื้นที่ตั้ง

สถาบันศึกษาปอเนาะดารุลอูลุม ตั้งอยู่ที่ 29/1 หมู่ 1 บ้านบือเร๊ะ ต.บาเร๊ะใต้ อ.บาเจาะ จ.นรธิวาส บนเนือที่ 4 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและเป็นดอนทราย และเป็นดินพรุมีต้นไม้ล้อมรอบ บรรยาการศร่มรื่น สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม โดยส่วนใหญ่ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังในบริเวณกว้างและอีกสวนหนึ่งก็เป็นดินเปรี้ยว

 ประวัติ

 ตำบลบาเร๊ะใต้ เดิมมีชื่อเรียกตามภาษาทอองถิ่นเรียกว่าบือเร๊ะ โดยส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งของอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบาเจาะไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 5 กิโลเมตรเป็นที่ราบลุ่มเป็นดินทรายประมาณร้อยละ 80 อยู่ท่งทิศตะวันออกของตำบลเป็นเป็นดินทรายประมาณร้อยละ 15 ของตำบลเป็นดินเปรี้ยว

ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศของตำบลบาเร๊ะใต้ เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังโดยสามารถแยกได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นที่ราบดินทรายประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ตำบลอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบล คลอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 2 4 5 และ 6 บางส่วนสูงจากระดับน้ำทะเล 8 เมตร

ส่วนที่ 2 พื้นที่ดินพรุ มีประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ตำบลซึ่งอยู่ส่วนกลางของตำบลและอยู่รอบๆหมู่บ้านซึงปกคลุมหมู่ที่ 3 6 และหมู่ที 2 บางสวนสูงจากระดับน้ำทะเล 3 เมตร

ส่วนที่ 3 พื้นทีดอน มีประมาณ ร้อยละ 10 ของพื้นที่ตำบล ซึ่งอยู่ทางทิศทิศตะวันตกของพื้นที่ส่วนใหญ่

พื้นที่ตำบลบาเร๊ะใต้

อบต. บาร๊ะใต้ห่างจากที่ว่าการอำเภอบาเจาะ ทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 39.68 ตร.กม. หริอประมาณ 25307 ไร่ มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและน้ำท่วมขัง

 เขตพื้นที่

ตำบลบาเร๊ะใต้มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 39.68 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 25307 ไร่ มีอนาเขตติดจ่อกับตำบลต่างๆดังนี้

 ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานึ ตำบลบาเร๊ะเหนือ อำเภอบาเจาะ

ทิศใต้ ติตต่อกับ ตำบลลูโบ๊ะสาวอ อำเภอบาเจาะ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองจ.นราธิวาส

 อาชีพ

 –อาชีพหลัก ทำสวน /ทำไร่/ตัดยาง/ก่อสร้าง

-อาชีพเสริม รับจ้าง/จัดตั้งกลุ่มย่านสานลิเภา/สานผลิตภัณฑ์กระจูด

 กลุ่มออมทรัพย์

  • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อชุมชน หมู่ที่ 1
  • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อชุมชนหมู่ที่ 2
  • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 3
  • กลุ่มกองทุนหมู่บ้านหมู่ที่ 1-7

 กลุ่มเยาวชน

  -กลุ่มเบาวชนหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-7

 – กลุ่มชมรมกีฬาและนันทนาการ

 – กลุ่มญาลัลนันบารูการนับถือศาสนา

             ประชากรในองค์การบริหารตำบลบาเร๊ะใต้ นับถือศาสนาอิสลาม 100 เปอร์เซ็น ภาษาที่ใช้เป็นภาษามลายูท้องถิ่นประมาณ 90 เปอร์เซ็นและภาษาไทยประมาณ 10เปอร์ซ็น

           มัสยิด    จำนวน 6 แห่ง

           สุเหร่า    จำนวน 6  แห่ง

สาธารณูปโภค

ทีทำการไปรษณีย์ 1 แห่ง

โทรศัพท์มือถือมีผู้ใช้ประมาณ 2500 เลขหมายหรือร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

 การไฟฟ้า

ตำบลบาร๊ะใต้ มีไฟฟ้ารอบคลุมทุกหมู่บ้าน ครัวเรือนมีไฟฟ้า 99 เปอร์เซ็น

 แหล่งที่น้ำสร้างขี้น

     – ฝ่ายคลองกะทุง –ฝ่ายคลองไม้ไผ่ –ฝ่ายคลองชลประทาน – ฝ่ายตือซิ

  • ฝายคลองชูโว

ผลิตภัณฑ์

-กลุ่มช่างไม้ผลิตภัณฑ์จากไม้

– กลุ่มปักผ้าเสื้อสตรี

-กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกระจูด

กลุ่มจักรสานย่านลิเภาน้ำยาจากเขาตันหยง

-กลุ่มชมรมกีฬาและนันทนาการ

กลุ่มจักสารย่านลิเภา

การเดินทาง

ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42