บริบทตำบล
ข้อมูลทั่วไป
ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
- สภาพทั่วไป
ตำบลเรียง เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 8 ตำบลของอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เดิมมี 6หมู่บ้านต่อมาในปี 2535ได้มีการแยกหมู่บ้านเพิ่มเติมอีก 2หมู่บ้าน ปัจจุบันมี 8 หมู่บ้าน ห่างจากที่ว่าการอำเภอรือเสาะ ประมาณ 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายรือเสาะ – ท่าเรือ – เรียง – บาลอ หรือตามเส้นทาง รือเสาะ – สาวอ – บาลอ – เรียง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 39.69 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 24,805 ไร่มีสภาพเป็นพื้นที่ราบ มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่านราษฎรประกอบอาชีพในการทำสวน, ทำนา และเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการค้าขายด้วยประวัติความเป็นมา ตำบลเรียง เป็น 1 ใน 9 ตำบลของอำเภอรือเสาะ เดิมมี 6 หมู่บ้าน ต่อมาในปี 2535 ได้มีการแยกหมู่บ้านเพิ่มเติมอีก 2 หมู่บ้าน ปัจจุบันมี 8 หมู่บ้าน
- อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
- ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
สภาพพื้นที่ตำบลเรียง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับภูเขาสูงต่ำสภาพป่าไม้เบญจพรรณเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ลักษณะสภาพอากาศมี 2 ฤดู คือฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีความแปรปรวน บางปีอาจจะมีภาวะฝนทิ้งช่วงและอาจเกิดอุทกภัยในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ในบางปีมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ทำให้มีลักษณะอากาศร้อนชื้น และในกลางคืนอากาศค่อนข้างเย็นฝนจะตกชุกมากในระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
- เขตการปกครอง ตำบลเรียง แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 ชื่อบ้านสะแนะ
หมู่ที่2 ชื่อบ้านสุเป๊ะ
หมู่ที่3 ชื่อบ้านเรียง
หมู่ที่4 ชื่อบ้นซือเลาะ
หมู่ที่5 ชื่อบ้านลอ
หมู่ที่6 ชื่อบ้านดาระ
หมู่ที่7 ชื่อบ้านตือโละ
หมู่ที่8 ชื่อบ้านกำปงบารู
2.2 ประชากร
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,273 คน
แยกเป็นชายจำนวน 3,092 คน และ เป็นหญิง จำนวน 3,181 คน
ตารางแสดงจำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน จำแนกตามรายหมู่บ้าน
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ประชากร | จำนวนครัวเรือน | ||
ชาย | หญิง | รวม | |||
1 | บ้านสะแนะ | 273 | 310 | 583 | 151 |
2 | บ้านสุเป๊ะ | 556 | 568 | 1,124 | 292 |
3 | บ้านเรียง | 344 | 323 | 667 | 137 |
4 | บ้านซือเลาะ | 521 | 515 | 1,036 | 219 |
5 | บ้านลอ | 299 | 309 | 608 | 143 |
6 | บ้านดาระ | 237 | 265 | 502 | 161 |
7 | บ้านตือโละ | 549 | 574 | 1,123 | 259 |
8 | บ้านกำปงบารู | 313 | 317 | 630 | 163 |
รวม | 3,092 | 3,181 | 6,213 | 6,273 |
*-ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2558
- ด้านสังคม
3.1 การศึกษา
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ
(1)โรงเรียนเรียงราษฎร์อุปถัมภ์
โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง คือ
(1)โรงเรียนบ้านสะแนะ
(2)โรงเรียนบ้านสุเป๊ะ
(3)โรงเรียนบ้านซือเลาะ
(4)โรงเรียนบ้านตือโละ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง คือ
(1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซือเลาะ
(2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสุเป๊ะ
(3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลอ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กศน.อำเภอ.รือเสาะ (ศูนย์การเรียนชุมชุนตำบลเรียง)
ศาสนา
ประชากรภายในตำบลเรียงนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 100 โดยมีมัสยิดและสุเหร่าเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบงานบุญและพิธีกรรมทางศาสนาภายในตำบลมีมัสยิดและสุเหร่า จำนวน 16 แห่ง และมีโรงเรียนสอนศาสนาจำนวน 1 แห่ง และมีศาสนสถานประจำมัสยิดหรือตาดีกา จำนวน 11 แห่ง
3.2 การสาธารณสุข
ภายในตำบลเรียง มีสถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- สถานีอนามัยบ้านสุเป๊ะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านสะ-แนะ
- หมู่ที่ 2 บ้านสุเป๊ะ
- หมู่ที่ 6 บ้านดาระ 4. หมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู
- สถานีอนามัยบ้านซือเลาะ รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 3 บ้านเรียง
- หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ
- หมู่ที่ 5 บ้านลอ
- หมู่ที่ 7 บ้านตือโละ
มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน (ศสมช.) ประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง โดยมี อสม.ประจำหมู่บ้าน
3.3 สาธารณูปโภค
ปัจจุบันในหมู่บ้านต่าง ๆ ของตำบลเรียง มีบริการสาธารณะให้บริการแก่ประชาชนได้แก่
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน มีจำนวน 8 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8
กองทุนยา (สศมช.) จำนวน 8 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8 บ้านซึ่งเป็นขององค์กรของหมู่บ้าน
ที่ทำการ อบต. ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2,4,5
ศูนย์กีฬาตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2
- ด้านเศรษฐกิจ
4.1 การประกอบอาชีพ
ประชากรตำบลเรียง ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ได้แก่การทำสวนยางพารา, สวนผลไม้ต่าง ๆ ปลูกพืชไร่พืชผัก ทำนาข้าว เลี้ยงสัตว์ ค้าขายและรับจ้างทั่วไปได้ แต่พื้นที่การเกษตรที่ตั้งอยู่ร่วมกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผลผลิตที่สำคัญคือยางพาราและผลไม้
แรงงาน
ในวัยแรงงานของตำบลเรียง ร้อยละ 75 เป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือน เป็นแรงงานในการทำนา ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา ส่วนแรงงานร้อยละ 25 เป็นแรงงานประเภทต่าง ๆ เช่น รับจ้าง ค้าขาย เป็นต้น
4.2 พาณิชยกรรม
ภายในตำบลเรียงมีร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากร้านค้าขายของชำและสินค้าเบ็ดเตล็ดขนาดเล็ก ซึ่งตั้งอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ จำนวน 14 แห่ง มีปั้มน้ำมัน (ปั้มหลอด) จำนวน 5 แห่ง ตลาดนัด จำนวน 3 แห่ง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่สามารถซื้อได้ภายในตำบลตลอดจนอุปกรณ์การผลิตทางการเกษตร จะหาซื้อในเขตอำเภอรามัน อำเภอรือเสาะและจังหวัดยะลา สำหรับการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของตำบล ได้แก่ ยางพารา จะมีพ่อค้าจากภายนอกมารับซื้อ
4.3 อุตสาหกรรม
ภายในตำบลเรียง ไม่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
4.4 การท่องเที่ยว
ตำบลเรียง เป็นตำบลขนาดเล็กและที่ราบลุ่มจึงไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลปรากฏตามภูมิศาสตร์ของพื้นที่
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
5.1 การไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ขณะนี้ประชาชนในตำบลเรียง มีไฟฟ้าใช้ประมาณ 98% เหลือครัวเรือนประมาณ 55 ครัวเรือน เนื่องจากเป็นบ้านที่กำลังสร้างใหม่และแยกบ้านในสถานที่ห่างไกลจากชุมชน
5.2 แหล่งน้ำและการชลประทาน
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญมีลำน้ำ ,ลำห้วย จำนวน 3 สาย บึงหนองและอื่น ๆ จำนวน 6 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย / ทำนบ /ผนังกั้นน้ำ จำนวน 3 แห่ง
2 .บ่อน้ำตื้น จำนวน 25 บ่อ
- บ่อโยก/บ่อบาดาล จำนวน 23 บ่อ
- ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 8 แห่ง
- สระน้ำ จำนวน 5แห่ง
6.ประปาหมู่บ้านใน จำนวน 14 แห่ง
การชลประทาน
คูส่งน้ำเพื่อการเกษตรบ้านตือโล๊ะ พื้นที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 600 ไร่
5.3 การสื่อสาร
– ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเรียงมีตู้โทรศัพท์สาธารณะอย่างเพียงพอครอบคลุมเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเรียง
– การบริการด้านการสื่อสารภายในตำบลเรียง มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านสุเป๊ะ ตำบลเรียง มีการบริการด้านไปรษณีย์โทรเลข
5.4 การคมนาคม
การคมนาคมของตำบลเรียง มีการคมนาคมทางบก โดยมีเส้นทางที่สำคัญดังนี้
– จังหวัดนราธิวาส ถึงองค์การบริหารส่วนตำบลเรียง จำนวน 65 กิโลเมตร
– จากจังหวัดยะลา ถึงองค์การบริหารส่วนตำบลเรียง จำนวน 24 กิโลเมตร
– จากกรุงเทพฯ ถึงองค์การบริหารส่วนตำบลเรียง จำนวน 1,373 กิโลเมตร
– ถนนและซอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเรียง ทั้งหมด จำนวน 43 สาย มีถนนลาดยางจำนวน 9 สาย ระยะทาง 14.9 (ก.ม) ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ จำนวน 13 สาย ระยะทาง 1,976 (ก.ม) ถนนลูกรัง 21 สาย ระยะทาง 20,844 (ก.ม)
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ในเขตตำบลเรียง มีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะแก่การเลี้ยงปลาน้ำจืด การทำนาข้าวในพรุ รวมทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำหลายชนิด
- บ้านพรุ บ้านสะแนะ มีสภาพสมบูรณ์เหมาะแก่การเลี้ยงปลาน้ำจืด การทำนาข้าวในพรุรวม ทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำหลายชนิด
- น้ำตกบ้านดาระ ตั้งอยู่ในที่สูงเชิงเขา เหมาะแก่การสร้างระบบประปาภูเขา เพื่อนำน้ำมาใช้อุปโภค บริโภคในการเกษตรและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต
4.ป่าไม้ ประกอบไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ พืชสมุนไพร และพันธุ์ไม้ต่างๆ จำนวนมาก เป็นแหล่งต้นน้ำที่อยู่อาศัยในป่าหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นแหล่งวัตถุดิบของราษฏรที่ประกอบอาชีพหาของป่าจำหน่าย
5. แร่ดีบุก เป็นแร่ธรรมชาติที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ในพื้นที่หมู่ที่ 5, 8 ในตำบลเรียง